Friday, September 13, 2019

Intuition

การฝึกสมาธิ กับพัฒนาทางสมองตามหลักทางแพทย์ ตอนท้ายเทียบเคียงกับการภาวนา อธิบายเข้าใจง่าย แม้ว่าทางพุทธศาสนา มองนามรูปเป็นสภาวะธรรม และหยุดแค่นั้น ไม่เอาไปเชื่อมโยงกับกายภาพ(สมอง)
อ่านต่อ »

Monday, September 9, 2019

ลับสมอง ่เรียนรู้ชุดต่อวงจรไฟฟ้า

เทคนิคการสอนแบบรับภาษาแม่และภาษาที่สอง ของสมอง
เพราะสมองทำหน้าที่รู้คิดเรียนรู้สร้างภาษาแม่และภาษาที่สองรวมทั้งภาษาต่อๆไปแต่ต้องสอนให้ถูกวิธีคือสอนให้สอดคล้องกับหน้าที่ในการรู้คิดเรียนรู้สร้างภาษาของสมองเท่านั้น 
 พ่อแม่สอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ให้กับ Matt

ลับสมอง กับชุดการต่อวงจรไฟฟ้า


อ่านต่อ »

Sunday, September 8, 2019

ฝึกร้องเพลงแปรงฟัน


 พ่อแม่ไทยสอนภาษา อังกฤษเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่หนึ่งให้แมต ตั้งแต่เกิดจนอายุห้าปี ไม่พูดภาษาอังกฤษกับเขาตามกิจวัตรประจำวัน เขาก็พูดภาษาอังกฤษได้ และกำลังสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองให้แม็ก เมื่ออายุ5ปี ตามกิจวัตรประจำวันและร้องเพลงแปรงฟันให้ฟัง

ฝึกร้องเพลงแปรงฟัน
อ่านต่อ »

Tuesday, September 3, 2019

ฟ้าลิขิตสมองเรามาแล้ว หรือ เราเปลี่ยนแปลงมันได้

ขอบเขตของการเปลี่ยนแปลง

สมองของเราถูกออกแบบมาไว้จนแก้ไขไม่ได้ หรือ มันสามารถปรับตัวได้ตามสถานการณ์

ตัวเราเป็นเหมือนเครื่องจักรที่ถูกประกอบมาตามแบบ และมีชีวิตที่ถูกกำหนดไว้แล้วด้วยสมองที่เกิดมาพร้อมกับเรา หรือ เราสามารถเดินสายวงจรชีวิตได้ใหม่ ตั้งโปรแกรมจิตใจ และกำหนดชะตากรรมของตัวเองได้

ฮันนาห์ คริตช์โลว์ นักประสาทวิทยา บอกว่า นี่คือสิ่งที่งานวิจัยด้านสมองล่าสุดอาจบอกเรา

สมองของคุณไม่ได้อยู่คงที่เมื่อคุณเป็นผู้ใหญ่

นิวโรพลาสติกซิตี (Neuroplasticity) เป็นความสามารถของสมองในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ในช่วงที่วิชาประสาทวิทยาศาสตร์เริ่มเกิดขึ้นไม่นาน มีหลักการที่บอกว่า เส้นประสาททุกเส้นในสมองถูกสร้างขึ้นก่อนการเกิด และเมื่อสมองเกิดความเสียหาย เราไม่สามารถรักษามันได้

เป็นเวลาหลายปีที่นักประสาทวิทยาจำนวนมาก เชื่อว่า โครงสร้างสมองของผู้ใหญ่อยู่คงที่ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ มีอย่างไร ก็อยู่อย่างนั้น แต่ในช่วงทศวรรษ 1960 ความเชื่อนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไป

การวิจัยทดลองใหม่ได้ให้ผลที่ขัดแย้งจากเดิม โดยพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า อันที่จริงแล้ว สมองอาจถูกสร้างขึ้น อาจจะปรับตัว หรือ เติบโต และแม้แต่เกิดขึ้นมาใหม่ได้

ชีวิตแท็กซี่ในลอนดอนบอกอะไรเกี่ยวกับสมองเรา
ตามแท็กซี่คันนั้นไป

ฮิวโก สเปียร์ส นักประสาทวิทยาทางความคิด ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความจำ แห่งมหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตีคอลเลจลอนดอน (University Collage London--UCL) บอกว่า "เมื่อขึ้นแท็กซีดำของลอนดอน แล้วบอกจุดหมาย คนขับก็มีหน้าที่พาคุณไปส่งยังปลายทางด้วยเส้นทางที่เร็วที่สุด"

ในการทำเช่นนั้นได้ คนขับแท็กซี่ต้องจดจำถนนทุกสายในกรุงลอนดอน ซึ่งภายในรัศมี 10 กิโลเมตร มีถนนกว่า 60,000 สาย (รวมถึงทางเดินรถทางเดียว และการห้ามเลี้ยวตามจุดต่าง ๆ" นอกจากนี้ยังต้องจดจำสถานที่อีกกว่า 100,000 แห่ง

คนขับแท็กซี่รายหนึ่ง บอกกับ ฮิวโก ว่า "ถ้าคุณลองนึกถึงห้องรับแขกของคุณ คุณรู้ว่าหนังสือหรือโซฟาของคุณอยู่ตรงไหน เดินไปครัวยังไง... คุณไม่ต้องคิดเลย มันก็เหมือนกับถนนทุกสายในลอนดอน"



คนขับแท็กซี่ใช้เวลา 2-4 ปี กว่าที่จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว

เมื่อนักประสาทวิทยาศาสตร์ที่ UCL เริ่มศึกษาสมองของคนขับรถ พวกเขาได้ค้นพบเรื่องที่น่าประหลาดใจคือ ขณะที่กำลังมีการจดจำข้อมูลจำนวนมหาศาลนี้ สมองได้เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น

การใช้เทคโนโลยีภาพสมอง ทำให้นักวิทยาศาสตร์เห็นส่วนของสมองที่เรียกว่า ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ขยายใหญ่ขึ้น ช่วยให้ตีความได้ว่า สมองของเรา ณ ชั่วขณะหนึ่ง ไม่ได้คงอยู่แบบนั้นตลอดไป และเรามีความสามารถที่ทำให้สมองเปลี่ยนแปลงได้

นอกจากนี้ยังทำให้เกิดคำถามว่า เราสร้างสมองของเราให้เป็นแบบที่เราต้องการอย่างที่เราสร้างกล้ามเนื้อได้หรือไม่

เยียวยาจิตใจ
นิวโรพลาสติกซิตี ทำอะไรได้บ้าง กับสมองที่เสื่อมถอยมากขึ้นของเรา

ผลการทดลองในเวลาต่อมาได้พิสูจน์ว่า สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่สมองได้ ทั้งในแง่ของโครงสร้างและการทำหน้าที่ แม้ว่าเราจะอายุล่วงเลย 60 ปี 70 ปี หรือ 80 ปี แล้วก็ตาม

หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคือ นิวโรเจเนซิส (neurogenesis) หรือการเกิดขึ้นของเส้นประสาทใหม่จากเซลล์ประสาทต้นกำเนิดในผู้ใหญ่

ชารอน เบกลีย์ ผู้สื่อข่าวชาวอเมริกัน และผู้เขียนหนังสือเรื่อง เดอะ พลาสติก เบรน (The Plastic Brain) กล่าวว่า "นี่มีความเป็นไปได้อย่างมากถึงความสามารถในการเยียวยาของเรา"

นั่นคือเหตุผลว่า การรักษาต่าง ๆ อย่างเช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy--CBT) ซึ่งเป็นการบำบัดด้วยการพูดคุยรูปแบบหนึ่ง ช่วยให้คุณจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ได้ ด้วยการเปลี่ยนวิธีคิดและการกระทำ

การส่งเสริมนิวโรพลาสติกซิตี [ความสามารถของสมองในการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง] อาจช่วยผู้คนได้ในหลายรูปแบบ

ชารอน บอกว่า "เมื่อเราถูกสอนให้คิดถึงประสบการณ์ชีวิตที่ต่างออกไป การแทรกแซงทางจิตวิทยาเช่นนี้ทำให้เกิดผลต่อโครงสร้างและการทำงานของสมองจริง ๆ"

แต่ระวังสิ่งที่ชารอนเรียกว่า "นิวโร-ไฮป์" (neuro-hype) หรือความเชื่อที่ว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างเกี่ยวกับสมองของเราได้ เพราะการเชื่อเช่นนี้อาจจะส่งผลในทางตรงกันข้ามได้

เกิดอะไรขึ้นเมื่อคนไม่สามารถ "คิด" หาทางออกจากอาการซึมเศร้าหรือบาดแผลทางจิตใจได้ ชารอนถามว่า "เราจะโทษพวกเขาว่า ไม่ยอมคิดในแบบที่ถูกต้องหรือเปล่า"

"ความคิดที่ว่าสามารถแก้ไขสิ่งที่ผิดปกติในสมองได้ทุกอย่าง เป็นความคิดที่ไกลเกินไป" ชารอน กล่าว

การเปลี่ยนแปลงของสมองมีผลต่อบทบาททางเพศอย่างไร



แนวคิดที่ว่าทุกอย่างถูกกำหนดไว้แล้วตั้งแต่เกิดอาจช่วยจำแนกประเภทบุคคล และจำกัดความเป็นบุคคลอย่างมาก

ยกตัวอย่าง เราอาจแบ่งพฤติกรรมหลายด้านตามภาพจำทางเพศ บางคนเชื่อว่า โครโมโซมเพศจะเป็นตัวกำหนดการแสดงออกของคุณ

"ผู้หญิงไม่มีเหตุผล และผู้ชายไม่อ่อนไหว ลองคิดใหม่" จีนา ริปพอน นักประสาทวิทยาทางความคิด และผู้เขียนเรื่อง เดอะ เจนเดอร์ด เบรน (The Gendered Brain) กล่าว

จีน่า ตั้งคำถามกับความคิดที่ว่า สมองของผู้ชายและผู้หญิงแตกต่างกัน และความแตกต่างนั้นแก้ไขไม่ได้ เธอพบว่า ไม่มีอะไรในทางชีวภาพของมนุษย์ที่สนับสนุนความคิดที่ว่า มีความแตกต่างทางเพศในสมอง

แต่จีน่า บอกว่า มนุษย์มีสมองที่กลายเป็น 'สมองผู้ชาย' และ 'สมองผู้หญิง' ก็เพราะประสบการณ์ที่พวกเขาสั่งสมมาในชีวิต บอกเขาว่า เพศเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและความถนัด

ความสามารถในการปรับตัวของสมองได้ผลทั้งสองทาง และจีน่า บอกว่า การที่เรารู้ว่าสมองเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เกิดไปจนถึงช่วงที่อายุมากขึ้น อาจช่วยให้เราหลีกเลี่ยงอคติเกี่ยวกับเรื่องเพศในแบบเดิม ๆ และข้อจำกัดจากการมีอคติเหล่านั้น

การเปลี่ยนแปลงของสมองและการเลี้ยงดู

เมื่อมองในแง่ของเรื่องการเลี้ยงดูลูก การที่พ่อแม่คิดว่า ชีวิตถูกกำหนดไว้แล้วในระดับหนึ่ง อาจช่วยทำให้เบาใจลงได้บ้าง

ธรรมชาติที่ถูกกำหนดไว้ อาจช่วยให้พ่อแม่เผชิญกับแรงกดดันได้ในยุคที่มีแต่เรื่องให้ต้องคิดตัดสินใจ และเต็มไปด้วยความกังวลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูก

ดังนั้น ถ้าการเลี้ยงดูมีความสำคัญ พ่อแม่ควรกังวลเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ว่า ควรเลี้ยงดูลูกอย่างไร

จีน่า บอกว่า การเปลี่ยนแปลงของสมอง อาจช่วยทำให้พ่อแม่รู้สึกมีความหวังมากขึ้น "ถึงเราไม่เล่นเพลงโมซาร์ตให้ทารกแรกเกิดฟัง พวกเขาก็ยังสามารถที่จะเรียนด้านดนตรีได้ในช่วงที่เป็นเด็กเล็ก และเรียนเปียโนในตอนที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ยังได้"

การเปลี่ยนแปลงของสมอง ทำให้เกิดมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นเกี่ยวกับศักยภาพของมนุษย์ โลกที่สมองของเด็กเป็นมากกว่ากระดานที่ว่างเปล่า ไม่ขึ้นอยู่กับการสืบทอดทางพันธุกรรม

สมองของคุณเปลี่ยนแปลงได้แค่ไหน
คนเราแก่เกินไปที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่


สมองของเราเปลี่ยนแปลงทุกวัน

ทุกครั้งที่คุณเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ หรือมีความคิดใหม่ คุณกำลังสร้างการเชื่อมต่อทางประสาทขึ้นในจิตใจ ทำให้เกิดโครงสร้างทางกายภาพใหม่ขึ้นในสมองของคุณ

แต่เราสามารถคาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากแค่ไหน

เควิน มิตเชลล์ นักพันธุกรรมระดับประสาท ที่ ทรินิตีคอลเลจ (Trinity College) ในกรุงดับลินของไอร์แลนด์ กล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระดับไมโคร เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ในระดับของการเชื่อมต่อระหว่างเส้นประสาท" โดยเขาระบุว่า "นั่นคือการก่อตัวขึ้นของความจำของเรา"

ในหนังสือของเขาเรื่อง Innate เควิน ระบุว่า บางทีเราควรจะจำไว้ว่า "การเปลี่ยนแปลงของสมองมีขีดจำกัด" และควรตั้งข้อสงสัยกับความคิดที่ว่า "การเปลี่ยนแปลงในระดับไมโครของเราเกิดขึ้นได้ จนกระทั่งสามารถเปลี่ยนแปลงบุคลิกนิสัยของเราได้"

"เราควรชั่งน้ำหนักหลักฐานอย่างระมัดระวังมากขึ้น" เควิน กล่าว และไม่ควรเชื่อมั่นในความคิดที่ว่า "เราสามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างตามที่ต้องการได้ เราเป็นอิสระจากโซ่ตรวนทางพันธุกรรมที่กำหนดชะตากรรมของเรา และทำให้เราเป็นใครก็ได้ที่อยากเป็น"

"เรากำลังใช้งานสมองอยู่ตลอดเวลา เราใช้สมองส่วนที่ช่วยในการมองเห็นและการฟังอยู่ตลอดเวลา" เขากล่าว "กระนั้น สมองก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่ขึ้น ถ้าทุกส่วนของสมองที่เราใช้งานใหญ่ขึ้นตลอดเวลา เมื่อถึงจุดจุดหนึ่ง กะโหลกของเราคงจะแตกออก"

สิ่งที่งานวิจัยอย่างของ เควิน เผยให้เห็นก็คือ ขอบเขตการเปลี่ยนแปลงของสมอง บางทีอาจส่งผลกระทบต่อยีนของเราเสียด้วย

อาจเป็นไปได้ว่า มีคนบางส่วนที่ถูกกำหนดไว้แล้วว่า ต้องเป็นคนขับแท็กซี่ในลอนดอน เนื่องจากเกิดมาพร้อมกับยีนที่เหมาะสมในการทำให้ฮิปโปแคมปัสเติบโตได้ดี

สรุปแล้ว ธรรมชาติ หรือ การเลี้ยงดู ที่กำหนดชะตากรรมของเรา
อะไรที่ทำให้พืชชนิดหนึ่งโตสูงกว่า มันเป็นเรื่องของพันธุกรรม หรือ การดูแล ที่พืชได้รับ

สุดท้ายแล้ว อิทธิพลของยีนในตัวเราและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายถึงสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับเราและสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ ต่างก็มีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างไม่ออกแบ่งแยกได้

"เราจำเป็นต้องเลิกแบ่งขั้วระหว่าง มาตามธรรมชาติ กับ มาโดยการเลี้ยงดู" เควิน กล่าว "เพราะทั้งสองอย่างต่างเชื่อมโยงกันโดยไม่อาจแยกออกจากกันได้"

เขากล่าวว่า เราถูกเชื่อมต่อไว้ก่อนแล้ว มีหลายสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วตั้งแต่กำเนิดซึ่งขึ้นอยู่กับด้านชีวภาพของเราเอง และวิธีการที่สมองพัฒนา สิ่งเหล่านี้เองที่กำหนดบุคลิกนิสัยของเรา

การที่เรามีชีวิตที่แตกต่างกันไปในหลาย ๆ ด้าน อาจเป็นเรื่องของพันธุกรรม แต่การที่ถูกกำหนดไว้แล้วล่วงหน้า ไม่สามารถนำไปอธิบายเรื่องต่าง ๆ ที่เราตัดสินใจทำได้ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความเคยชิน

"นิสัยที่เราแสดงออกมาเมื่อเจอกับสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ควบคุมการกระทำของเราในแต่ละช่วงขณะ" เควิน กล่าว

ผลกระทบจากพันธุกรรมต่อสมองของเรา และผลกระทบจากประสบการณ์ของเรา ต่างส่งผลต่อกันอย่างต่อเนื่อง

ทั้งสองอย่างนี้ช่วยสร้างบุคลิกลักษณะนิสัยของเราตลอดช่วงที่เรามีชีวิตอยู่

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า นี่ไม่ใช่เรื่องของ เจตนาหรือโชคชะตา อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของ เจตนาและโชคชะตา ที่ร่วมกำหนดชีวิตของเรา

Refer: Click Here

อ่านต่อ »