Saturday, August 11, 2018

ศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์

1. "ครูจะต้องมีความรู้เรื่องศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ ที่ให้ความรู้ว่าภาษาทุกภาษามี 5 องค์ประกอบ" ดูเอกสาร หมายเลข 1 เทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรม หน้า 8 ข้อ 2.2 แต่บทความนี้ กล่าวว่า AI ได้พัฒนาการสอนภาษาไทย มี 6 ข้อ  ขาดข้อที่ 1 คือหน่วยเสียง/เสียง (Phomeme) หมายถึงภาษาประกอบด้วย “เสียง” ต่างๆ  “เสียงที่ได้ยิน ไม่มีความหมาย ยังไม่ไช่ภาษา” วิธีสอนภาษาไทยที่ครูสอนเน้น “เสียง” คือสะกดคำ ทำให้อ่านออก แต่ไม่เข้าใจความหมาย ทำให้วิเคราะห์ไม่ได้
ศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์องค์ประกอบของภาษาข้อ 2 คือ “ความหมาย” (Phoneme) แต่บทความ AI เขียนข้อ ที่ 1 ว่า Morphological level หมายถึงการถอดคำเป็นตัวอักษร พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เพื่อเขียนให้ถูก
           บทความ AI เขียน “ความหมาย”ของภาษาไว้ 2 ข้อ คือที่ 2 |5 สำหรับข้อ 2  ศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ใช้คำว่า Morpheme แต่บทความนี้ข้อ 2 คำว่า Lexical Level คือความหมายของ”คำ/ศัพท์”ตรงๆตามพจนนุกรมและข้อที่ 5  Discourse level คือความหมายของประโยคก่อนหน้าต่อประโยคที่อ่านอยู่ (ซึ่งประเด็นนี้ฉันได้บอกกับครูว่า “การรู้คำ/ศัพท์เป็นขั้นต้นของการอ่าน เพราะ คำ/ศัพท์ มีตำแหน่ง มีหน้าที่และมีความสัมพันธ์กัน
             บทความนี้เขียนข้อ 3 Synthetic levelหมายถึงโครงสร้างของประโยค สำหรับศาสตร์สาขาสัทศาสตร์ใช้คำว่า “กลุ่มคำ “ คือ ประโยคกับวลี Syntax
            ข้อ 6 AIใช้คำว่า Pragmatic levelบทความนี้ใช้คำว่า “ความเข้าใจความหมายของคำและประโยคอิงสถานการณ์หรือฐานความรู้เดิม ซึ่งอาจไม่ระบุอยู่ในเนื้อหา เพื่อให้สามารถตีความได้ใกล้เคียงกับมนุษย์
            แต่ความรู้ข้อนี้ศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ให้ความรู้ว่าหมายถึงการสอน (1) ทักษะการคิด คือคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดแก้ปัญหาคิดสร้างสรรค์ทางภาษา ซึ่ง AI อาจทำไม่ใด้ เช่นการเขียนบทความ วรรณกรรม นิยาย คำประพันธ์ สคริปภาพยนตร์ สารคดี และ(2) ทักษะภาษา

2. น่าสนใจที่ นัก  AI มีความพยายามพัฒนา  AI ให้ทำงานด้านภาษา โดยยึดศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ ดีกว่านักวิชาการสอนภาษาไทยของไทย ที่ยังไม่รู้ศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ จึงสอนภาษาไทยเพียง 2องค์ประกอบของภาษา คือ “เสียง” กับ “คำ”  AI ก้าวหน้ากว่านักวิชาการสอนภาษาไทย  พอฉันนำความรู้เรื่องสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ว่าภาษามี 5 องค์ประกอบอบรมครู ย้ำครูต้องสอนให้ครบ3/5องค์ประกอบ ให้สมองรับรู้ คิด เรียนรู้ สร้างมโนทัศน์สร้างภาษาทั้งภาษาแม่ ภาษาที่สองและภาษาต่อๆไป ก็บอกว่าพี่/อาจารย์นงเยาว์เอาอะไรมาสอน ครูปวดหัว ไม่อยากฟัง ไม่รู้เรื่อง ผู้บริหารต้องการให้นักเรียนอ่านออกอย่างรวดเร็ว ครูก็สอนแบบสะกดคำ อ่านนำ-อ่านตาม คือการสอนเสียง ไม่ใช่สอนภาษา เพราะนักเรียนไม่เข้าใจความหมาย ผลคือนักเรียนอ่านออกแต่คิด และวิเคราะห์ไม่ได้
เมื่อ AI นำหน้าเอาศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์มาพัฒนาวิธีสอนภาษาไทย นักวิชาการสอนภาษาไทยก็คงจะเอาหลัก 6 ประการนี้มาเป็นวิธีสอนภาษาไทย โดยที่ไม่รู้ว่าเป็นศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ และก็หันไปเคารพ/บูชา AI เป็นการใหญ่ ว่า AI เก่ง สุดยอดๆ ขอให้พวกเราตามกันต่อไป
          คำถาม/ประเด็นคือรู้หลัก 6 ข้อ/ประการ แล้วสอนอย่างไร ถ้าสอนแบบเดินที่เคยชิน คือครูเน้นสะกดคำ อ่านนำ-อ่านตาม อธิบายความหมาย ผลที่นักเรียนได้ก็เหมือนเดิม สำหรับครูที่อบรม
หลักสูตรฉันสอนได้ คือสอนแบบกระตุ้นให้สมองรู้คิด สร้างความเข้าใจภาษา ตามสมการ CI   =i   +1... มี 3 ขั้นใหญ่ คือ คันใหญ่ที่หนึ่งระยะรับและสะสมความเข้าใจภาษา “งง เงียบ” ขั้นใหญ่ที่2 พูดได้ “แง้ม งอก งาม” และขั้นใหญ่ที่3 ความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับคำ

3. ครูต้องวิเคราะห์ให้แม่นยำว่า บทความนี้ไม่พูดว่า “สมองมนุษย์ทำหน้าที่รับรู้ คิด เรียนรู้ สร้างภาษาแม่ภาษาที่สองและภาษาต่อๆไป หรือสมองสร้างภาษา Language is universal language acquisition device “บทความนี้จึงใช้ชื่อว่า Natural Language processing NLP เพราะไม่รู้ว่าสมองสร้างภาษา
          แต่ศาสตร์สาขาประสาทวิทยา Neurosciences NS ให้ความรู้ว่าสมองทำหน้าที่รับรู้ คิด หลายลักษณะหลายมิติ เรียนรู้ สร้างมโนทัศน์สร้างภาษา ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ จึงเป็นที่มา/หลักของศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา Neurolinguistics NL : เทคนิคการสอนแบบรับภาษาแม่และที่สองของสมอง Mother Language Acquisition  MLA / The Second Language Acquisition SLA คือวิธีสอนภาษาแบบกระตุ้นให้สมองรู้คิดสร้างภาษา
       และใช้คำว่า Neurolinguistics  / Language Acquisition  และพจนานุกรมภาษาศาสตร์ประยุกต์ของราชบัณฑิตก็ใช้ก็แปลว่า “รับภาษา”
        จำไว้ว่าศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยาใช้คำว่า Neurolinguiistics แต่บทความนี้ใช้คำว่าNatural  ขอบคุณๆ