Sunday, September 16, 2018

Natural Language Processing เทคโนโลยีเชื่อมโยงปัญญาประดิษฐ์กับมนุษย์ด้วย “ภาษา”

เชื่อว่าผู้อ่านหลายคนคงเคยใช้คำสั่งเสียงบน Smartphone เพื่อทำสิ่งต่างๆ เป็นวิธีลัดแทนการเข้าใช้แบบเดิมๆ เช่น จดบันทึกการนัดหมาย โทรศัพท์หาคนรู้จัก เป็นต้น ซึ่งหลายๆ คนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าเทคโนโลยีเบื้องหลังของกระบวนการเหล่านี้ก็คือ “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ “AI” ที่มีความสามารถโดดเด่นในการเรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนต่างๆ ได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การที่ปัญญาประดิษฐ์สามารถรับคำสั่งเสียงของเราไปดำเนินการได้อย่างแม่นยำนั้น จะต้องอาศัยกระบวนการประมวลผลทางภาษาเข้ามาช่วย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อว่า Natural Language Processing (NLP) ซึ่งทำหน้าที่เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญ ที่ช่วยให้ AI สามารถประมวลผลจากคำสั่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม่นยำ รวมถึงแสดงผลการวิเคราะห์ต่างๆ ออกมาเป็นภาษามนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Natural Language Processing (NLP) แบบเจาะลึกครบถ้วนทุกมุมในบทความนี้
Credit: data-science-blog.com
NLP คืออะไร
NLP ย่อมาจาก Natural Language Processing เป็นสาขาหนึ่งของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ที่ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการสื่อสารและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นภาษา
เหตุที่ต้องพัฒนา NLP เนื่องมาจากเดิมทีนั้นคอมพิวเตอร์ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการเข้าใจข้อมูลตัวเลขหรือรหัสที่มีความหมายนัยหนึ่งชัดเจน ซึ่งไม่ตรงกับวิธีการสื่อสารของมนุษย์ซึ่งอาศัยภาษาเป็นหลัก และภาษามีความซับซ้อนกว่ารหัสที่ใช้กับคอมพิวเตอร์อย่างมาก NLP จึงเกิดขึ้นเพื่อลดช่องว่างในการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์
NLP รองรับทั้งการอ่านและการฟังโดยอาศัยเทคโนโลยีอื่นเข้าช่วย เช่น Visual Recognisation สำหรับอ่านข้อความ และใช้ Voice Recognisation สำหรับฟังเสียง รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อแสดงผลให้มนุษย์ได้รับทราบ รวมถึงสามารถถ่ายทอดข้อมูลกลับมาหาเราทั้งในรูปของข้อความและเสียงได้ด้วย
Credit: aio-tv.com
กระบวนการเรียนรู้ภาษาของ NLP
สำหรับกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเทคโนโลยี NLP มีพื้นฐานมาจากรูปแบบการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (สามารถอ่านเรื่องการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ได้ที่ Blog นี้) แต่ต่างตรงที่นำมาใช้กับภาษาซึ่งมีความซับซ้อนและเป็นนามธรรม ซึ่งปัจจุบัน NLP มีกระบวนการเรียนรู้ภาษาทั้งหมด 6 ขั้นตอน ดังนี้
  1. Morphological Level ขั้นเข้าใจตัวอักษร NLP จะถอดคำออกเป็นตัวอักษร หาพยัญชนะ สระ ตัวสะกดเพื่อทำความแม่นยำในขั้นต่อไป
  2. Lexical Level ขั้นเข้าใจคำ หลังจากผสมตัวอักษรแล้วก็จะเริ่มหาความหมายของคำนั้นๆ เพื่อเตรียมตัวสำหรับการทำความเข้าใจทั้งประโยค
  3. Syntactic Level ขั้นเข้าใจประโยค อ้างอิงจากการเข้าใจคำและลำดับโครงสร้างตามมาตรฐานที่ระบุโดยผู้เชี่ยวชาญหรือแบบแผนที่ได้เรียนมา
  4. Semantic Level ขั้นเข้าใจบริบทของคำในประโยค เข้าใจถึงความหมายของคำที่ใช้ในประโยคซึ่งอยู่นอกเหนือโครงสร้างตามมาตรฐานภาษา
  5. Discourse Level ขั้นเข้าใจความเชื่อมโยงของประโยค เข้าใจผลกระทบของประโยคก่อนหน้าต่อความหมายของประโยคที่อ่านอยู่ รวมถึงเข้าใจลำดับการใช้คำในประโยคซึ่งให้ความหมายแตกต่างกันด้วย
  6. Pragmatic Level ขั้นเข้าใจความหมายของคำและประโยคอ้างอิงจากสถานการณ์หรือฐานความรู้เดิม ซึ่งอาจไม่ได้ระบุอยู่ในเนื้อหานั้นๆ เพื่อให้สามารถตีความได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลใหม่เข้ากับความรู้เดิมได้ตลอดเวลา
นอกจากการทำความเข้าใจในแต่ละจุดแล้ว NLP ยังมีช่องทางการเรียนภาษาอีกได้ 3 รูปแบบ ซึ่งจำลองมาจากการเรียนภาษาของมนุษย์ ได้แก่
  • Symbolic เป็นพื้นฐานของการเข้าใจภาษาของมนุษย์ โดย AI ต้องทำความเข้าใจคำศัพท์จนถึงโครงสร้างของภาษานั้นๆ ขั้นนี้นักพัฒนาสามารถนำความรู้จากผู้เชี่ยวชาญใส่ลงไปใน AI ได้โดยตรง
  • Statistical หลังจากเรียนรู้พื้นฐานของภาษาแล้ว ขั้นต่อไป AI จะออกไปเก็บข้อมูลการใช้ภาษาของที่ต่างๆ จากนั้นนำมาวิเคราะห์รูปแบบด้วยวิธีการทางสถิติ เช่น การดูความถี่ของคำที่ใช้ ดูวิธีเรียงลำดับประโยคที่พบบ่อย แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ วิธีนี้จะช่วยให้ AI ปรับปรุงภาษาได้ตามความนิยมในปัจจุบัน และเข้าใจการใช้ภาษาในสาขาที่เฉพาะทางอย่างด้านวิทยาศาสตร์ การเงิน หรือเอกสารวิชาการต่างๆ เป็นต้น
  • Connectionist AI จะเอากระบวนการเรียนรู้ภาษาในขั้น Statistical มาเชื่อมโยงกับขั้น Symbolic เพื่อการสื่อสารและทำความเข้าใจที่สมบูรณ์มากขึ้น โดยตั้งต้นจากความรู้เดิมที่เก็บได้ในขั้น Symbolic และดัดแปลงด้วยข้อมูลใหม่ที่ได้รับจากขั้น Statistical
NLP กับการใช้งานในปัจจุบัน
ปัจจุบัน NLP ได้เข้ามามีส่วนกับนวัตกรรมต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยนวัตกรรมที่เราพบเห็นได้บ่อยและซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย NLP มีดังนี้
  • Chatbot ที่ฉลาดขึ้น เดิมที Chatbot จะโต้ตอบเมื่อได้รับคำที่ระบุไว้ แต่เมื่อได้ใช้เทคโนโลยี NLP ทำให้ Chatbot สามารถโต้ตอบได้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับมนุษย์มากกว่าเดิม
  • เพิ่มประสิทธิภาพ Search Engine เดิมที Search Engine จะใช้การค้นหาเป็นคำซึ่งขาดความแม่นยำด้านความหมาย แต่หลังจากนำ NLP เข้ามาปรับปรุงทำให้สามารถค้นหาเนื้อหาต่างๆ ได้ตรงตามความหมายมากขึ้น นำไปสู่การค้นหาที่แม่นยำกว่าเดิมนั่นเอง
  • เทคโนโลยีแปลภาษาทั้งประโยค ด้วยเทคโนโลยี NLP ออกแบบให้ทำความเข้าใจภาษาอยู่แล้ว การพัฒนา NLP ให้สามารถรับภาษาหนึ่งมานำเสนอเป็นอีกภาษาหนึ่งย่อมเป็นไปได้ ซึ่งปัจจุบันระบบแปลภาษาทั้งประโยคบนเว็บไซต์เองก็พัฒนาโดยอาศัยเทคโนโลยี NLP เช่นกัน
  • ติดตั้ง Tag และแบ่งประเภทของบทความอัตโนมัติ เนื่องจาก NLP ถูกออกแบบเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาต่างๆ จึงสามารถช่วยเราแบ่งประเภทของบทความตามมาตรฐานที่เราออกแบบไว้ได้
  • กลไกสำคัญของยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ บนท้องถนนปัจจุบัน เรายังอาศัยการสื่อสารด้วยป้ายสัญญาณที่มีตัวอักษรกำกับอยู่ ดังนั้น เทคโนโลยี NLP จึงมีส่วนเข้ามาช่วยในการทำความเข้าใจป้ายสัญญาณต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติปลอดภัย
Credit: inma.org
คอมพิวเตอร์ที่เข้าใจภาษากับศักยภาพใหม่ที่เกิดขึ้นในอนาคต
หลังจากได้เห็นกระบวนการทำงานและตัวอย่างการใช้งาน NLP ในปัจจุบันไปแล้ว หลายคนน่าจะเริ่มมีคำถามว่าคอมพิวเตอร์ที่รู้ภาษาจะมีศักยภาพต่อการทำงานในอนาคตของเราอย่างไร ซึ่งต้องบอกว่า NLP จะมีบทบาทใหญ่มากในแง่การใช้งานเทคโนโลยีและการจัดการข้อมูล ดังนี้
  • Disrupt รูปแบบการใช้เทคโนโลยี เพราะมนุษย์สื่อสารด้วยภาษา การออกแบบคอมพิวเตอร์ด้วย AI ที่เข้าใจภาษาช่วยให้การใช้คอมพิวเตอร์ของเราง่ายขึ้น เราสามารถอธิบายความต้องการของเราผ่านเสียงหรือข้อความแล้วได้ทำงานตามความต้องการอย่างที่ Siri และ Google Assistant ทำงานบางอย่างให้เราได้แล้วก็เป็นผลมาจากเทคโนโลยี NLP ซึ่งหากเทคโนโลยีนี้สามารถทำงานได้สมบูรณ์ก็นับเป็นการพลิกรูปแบบการใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอย่างแน่นอน
  • เป็นส่วนสำคัญในการจัดการ Big Data เป็นที่ทราบกันดีว่าจำนวนข้อมูลดิจิทัลบนโลกนั้น มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งต้องมีข้อมูลส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลด้านภาษาที่เราจำเป็นต้องเข้าไปจัดระเบียบด้วย โดย AI ที่มี NLP จะสามารถเข้าไปช่วยจัดระเบียบข้อมูลส่วนนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง NLP สามารถพัฒนาร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์ภาพและเสียง จึงครอบคลุมการจัดการสื่อด้านภาษาทั้งหมด นับเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีสำคัญที่เข้ามาช่วยในยุคของ Data
อุปสรรคและความท้าทายของการพัฒนา NLP
การที่ NLP จะมีบทบาทกับชีวิตของเราอย่างเต็มรูปแบบนั้น จำเป็นต้องก้าวผ่านความท้าทายดังนี้
  • ภาษายังพลิกแพลงความหมายตลอดเวลา เพราะภาษาที่เราใช้อยู่ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งการเกิดคำศัพท์ใหม่ การรวมคำ ไปจนถึงการสลับลำดับในประโยคที่ใช้ ที่แม้แต่เราหากไม่ได้อยู่ในสายงานที่เกี่ยวข้องก็อาจจะตามไม่ทัน แต่ NLP จำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งหมดนี้เพื่อใช้ในการสื่อสาร จึงนับเป็นความท้าทายที่จะมีการต้องอัพเดทอยู่ตลอดเวลา และคงความถูกต้องของภาษาเอาไว้ด้วย
  • กระบวนการเรียนรู้ภาษา การสอน AI ให้รู้จักกับภาษานั้นเปรียบเสมือนสอนเด็กแรกเกิด เพราะภาษาไม่ได้มีไว้เพียงแค่รับรู้ แต่ต้องอาศัยความเข้าใจตามวัตถุประสงค์นั้นๆ แม้ปัจจุบัน NLP จะได้รับการพัฒนาจนสามารถโต้ตอบกับเราได้ดีขึ้น แต่ยังห่างไกลถ้าเทียบกับความสามารถของมนุษย์ปัจจุบัน
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Natural Language Process ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างนวัตกรรมที่ใกล้ตัวเรามากอย่างไม่น่าเชื่อ และยังมีบทบาทอย่างมากกับเราในอนาคตด้วย ซึ่งในส่วนของภาษาไทยนั้น มีทีมนักพัฒนาด้านนี้ที่น่าสนใจอย่าง “InThai” ซึ่งเป็นหนึ่งใน Finalist ในโครงการ U.REKA ที่พัฒนา NLP ภาษาไทยเพื่อให้คนไทยมีเทคโนโลยีนี้ใช้ในอนาคต ในโอกาสหน้า เรายังมีเรื่องราวที่น่าสนใจของเทคโนโลยีชั้นสูงที่น่าสนใจมาฝากกันอีก ติดตามกันได้แน่นอน
ขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก sas.com, machinelearningmastery.com และ expertsystem.com

ขอบคุณเนื้อหาจาก http://dv.co.th/blog-th/get-to-know-natural-language-processing-nlp/


อ่านต่อ »

Saturday, August 11, 2018

ศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์

1. "ครูจะต้องมีความรู้เรื่องศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ ที่ให้ความรู้ว่าภาษาทุกภาษามี 5 องค์ประกอบ" ดูเอกสาร หมายเลข 1 เทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรม หน้า 8 ข้อ 2.2 แต่บทความนี้ กล่าวว่า AI ได้พัฒนาการสอนภาษาไทย มี 6 ข้อ  ขาดข้อที่ 1 คือหน่วยเสียง/เสียง (Phomeme) หมายถึงภาษาประกอบด้วย “เสียง” ต่างๆ  “เสียงที่ได้ยิน ไม่มีความหมาย ยังไม่ไช่ภาษา” วิธีสอนภาษาไทยที่ครูสอนเน้น “เสียง” คือสะกดคำ ทำให้อ่านออก แต่ไม่เข้าใจความหมาย ทำให้วิเคราะห์ไม่ได้
ศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์องค์ประกอบของภาษาข้อ 2 คือ “ความหมาย” (Phoneme) แต่บทความ AI เขียนข้อ ที่ 1 ว่า Morphological level หมายถึงการถอดคำเป็นตัวอักษร พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เพื่อเขียนให้ถูก
           บทความ AI เขียน “ความหมาย”ของภาษาไว้ 2 ข้อ คือที่ 2 |5 สำหรับข้อ 2  ศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ใช้คำว่า Morpheme แต่บทความนี้ข้อ 2 คำว่า Lexical Level คือความหมายของ”คำ/ศัพท์”ตรงๆตามพจนนุกรมและข้อที่ 5  Discourse level คือความหมายของประโยคก่อนหน้าต่อประโยคที่อ่านอยู่ (ซึ่งประเด็นนี้ฉันได้บอกกับครูว่า “การรู้คำ/ศัพท์เป็นขั้นต้นของการอ่าน เพราะ คำ/ศัพท์ มีตำแหน่ง มีหน้าที่และมีความสัมพันธ์กัน
             บทความนี้เขียนข้อ 3 Synthetic levelหมายถึงโครงสร้างของประโยค สำหรับศาสตร์สาขาสัทศาสตร์ใช้คำว่า “กลุ่มคำ “ คือ ประโยคกับวลี Syntax
            ข้อ 6 AIใช้คำว่า Pragmatic levelบทความนี้ใช้คำว่า “ความเข้าใจความหมายของคำและประโยคอิงสถานการณ์หรือฐานความรู้เดิม ซึ่งอาจไม่ระบุอยู่ในเนื้อหา เพื่อให้สามารถตีความได้ใกล้เคียงกับมนุษย์
            แต่ความรู้ข้อนี้ศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ให้ความรู้ว่าหมายถึงการสอน (1) ทักษะการคิด คือคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดแก้ปัญหาคิดสร้างสรรค์ทางภาษา ซึ่ง AI อาจทำไม่ใด้ เช่นการเขียนบทความ วรรณกรรม นิยาย คำประพันธ์ สคริปภาพยนตร์ สารคดี และ(2) ทักษะภาษา

2. น่าสนใจที่ นัก  AI มีความพยายามพัฒนา  AI ให้ทำงานด้านภาษา โดยยึดศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ ดีกว่านักวิชาการสอนภาษาไทยของไทย ที่ยังไม่รู้ศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ จึงสอนภาษาไทยเพียง 2องค์ประกอบของภาษา คือ “เสียง” กับ “คำ”  AI ก้าวหน้ากว่านักวิชาการสอนภาษาไทย  พอฉันนำความรู้เรื่องสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ว่าภาษามี 5 องค์ประกอบอบรมครู ย้ำครูต้องสอนให้ครบ3/5องค์ประกอบ ให้สมองรับรู้ คิด เรียนรู้ สร้างมโนทัศน์สร้างภาษาทั้งภาษาแม่ ภาษาที่สองและภาษาต่อๆไป ก็บอกว่าพี่/อาจารย์นงเยาว์เอาอะไรมาสอน ครูปวดหัว ไม่อยากฟัง ไม่รู้เรื่อง ผู้บริหารต้องการให้นักเรียนอ่านออกอย่างรวดเร็ว ครูก็สอนแบบสะกดคำ อ่านนำ-อ่านตาม คือการสอนเสียง ไม่ใช่สอนภาษา เพราะนักเรียนไม่เข้าใจความหมาย ผลคือนักเรียนอ่านออกแต่คิด และวิเคราะห์ไม่ได้
เมื่อ AI นำหน้าเอาศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์มาพัฒนาวิธีสอนภาษาไทย นักวิชาการสอนภาษาไทยก็คงจะเอาหลัก 6 ประการนี้มาเป็นวิธีสอนภาษาไทย โดยที่ไม่รู้ว่าเป็นศาสตร์สาขาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ และก็หันไปเคารพ/บูชา AI เป็นการใหญ่ ว่า AI เก่ง สุดยอดๆ ขอให้พวกเราตามกันต่อไป
          คำถาม/ประเด็นคือรู้หลัก 6 ข้อ/ประการ แล้วสอนอย่างไร ถ้าสอนแบบเดินที่เคยชิน คือครูเน้นสะกดคำ อ่านนำ-อ่านตาม อธิบายความหมาย ผลที่นักเรียนได้ก็เหมือนเดิม สำหรับครูที่อบรม
หลักสูตรฉันสอนได้ คือสอนแบบกระตุ้นให้สมองรู้คิด สร้างความเข้าใจภาษา ตามสมการ CI   =i   +1... มี 3 ขั้นใหญ่ คือ คันใหญ่ที่หนึ่งระยะรับและสะสมความเข้าใจภาษา “งง เงียบ” ขั้นใหญ่ที่2 พูดได้ “แง้ม งอก งาม” และขั้นใหญ่ที่3 ความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับคำ

3. ครูต้องวิเคราะห์ให้แม่นยำว่า บทความนี้ไม่พูดว่า “สมองมนุษย์ทำหน้าที่รับรู้ คิด เรียนรู้ สร้างภาษาแม่ภาษาที่สองและภาษาต่อๆไป หรือสมองสร้างภาษา Language is universal language acquisition device “บทความนี้จึงใช้ชื่อว่า Natural Language processing NLP เพราะไม่รู้ว่าสมองสร้างภาษา
          แต่ศาสตร์สาขาประสาทวิทยา Neurosciences NS ให้ความรู้ว่าสมองทำหน้าที่รับรู้ คิด หลายลักษณะหลายมิติ เรียนรู้ สร้างมโนทัศน์สร้างภาษา ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ จึงเป็นที่มา/หลักของศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา Neurolinguistics NL : เทคนิคการสอนแบบรับภาษาแม่และที่สองของสมอง Mother Language Acquisition  MLA / The Second Language Acquisition SLA คือวิธีสอนภาษาแบบกระตุ้นให้สมองรู้คิดสร้างภาษา
       และใช้คำว่า Neurolinguistics  / Language Acquisition  และพจนานุกรมภาษาศาสตร์ประยุกต์ของราชบัณฑิตก็ใช้ก็แปลว่า “รับภาษา”
        จำไว้ว่าศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยาใช้คำว่า Neurolinguiistics แต่บทความนี้ใช้คำว่าNatural  ขอบคุณๆ

อ่านต่อ »

Friday, August 10, 2018

Sunday, July 22, 2018

การนวดนิ้วมือพัฒนาสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย


การนวดนิ้วมือพัฒนาสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย

อ่านต่อ »

Sunday, April 15, 2018

E-Book วิธีสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองแบบรับภาษา


ปัญหาภาษาไทยใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีีมาช้านานและได้รับการเอาใจใส่จากนักวิชาการตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในแวดวงการศึกษาอยู่เสมอมาทำให้อุปสรรคในการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองเบาบางลงไปมาก ไม่เฉพาะแต่ในภาคใต้เท่านั้น เด็กไทยที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยในภาคอื่นๆ ก็ได้รับอานิสงส์ด้วย...


อ่านต่อ »

Thursday, March 29, 2018

แบบเรียนเล่มแรกของไทย "จินดามณี"



          “จินดามณี” เป็นวรรณกรรมสําคัญเรื่องหนึ่งของไทยที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา นิพนธ์โดยพระโหราธิบดี เดิมเขียนลงในสมุดข่อย ก่อนคัดลอกสืบต่อกันมา กระทั่งถึงยุคตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มด้วยกระดาษฝรั่ง และต่อมากรมศิลปากรได้พิมพ์เผยแพร่ จัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร

          เชื่อกันว่าจินดามณีเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย ด้วยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสอนพื้นฐานด้านอักขรวิทยา และการประพันธ์บท ร้อยกรองประเภทต่างๆ ครอบคลุมเรื่องการใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การแจกลูก การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ การแต่งคำประพันธ์ชนิดต่างๆ

          ในยุคต่อๆ มา มีผู้แต่งหนังสือจินดามณีเพิ่มอีกหลายสำนวน เริ่มตั้งแต่เล่มต้นแบบ คือจินดามณีที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยา โดยพระโหราธิบดี ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แม้บางข้อมูลระบุว่าอาจจะแต่งก่อนหน้านั้นนับร้อยปี คือแต่งในรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่จากการที่จินดามณีของพระโหรา ธิบดีเป็นแบบเรียนไทยมาก่อนจนเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของแบบเรียนไทย ทำให้หนังสือแบบเรียนไทยในยุคหลังๆ หลายเล่มใช้ชื่อตามว่าจินดามณี เช่นเดียวกัน

          เช่น จินดามณีฉบับความแปลก จินดามณีครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท จินดามณีฉบับพิมพ์ของหมอสมิท และจินดามณีฉบับพิมพ์ของหมอบรัดเล


          อย่างไรก็ตาม นักวิชาการในยุคหลังตั้งข้อสังเกตว่า จินดามณีน่าจะเป็นแบบเรียนสำหรับผู้ที่จะถวายตัวเข้ารับราชการ หรือผู้ฝักใฝ่ฝึกฝนในเชิงกวี มากกว่าจะเป็นแบบเรียนเขียนอ่านทั่วไป เนื่องจากเนื้อหาประกอบด้วยการรวบรวมถ้อยคําที่อาจเขียนผิด เช่น คํายืมภาษาต่างประเทศ คําพ้องรูป พ้องเสียง ซึ่งเป็นคําที่ใช้ในภาษาเขียน รวมถึงการอธิบายพร้อมยกตัวอย่างวิธีการแต่ง คําประพันธ์ต่างๆ
         
ทั้งนี้ หากเปิดหนังสือจินดามณี จะพบอักษรศัพท์ว่าด้วยคําศัพท์ที่มักเขียนผิด ความหมายของศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร ตัวอย่างคําที่ใช้ ส, ศ, ษ ตัวอย่างคําที่ใช้ไม้ม้วน ไม้มลาย เป็นต้น ด้านบทประพันธ์ร้อยกรอง ได้อธิบายโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนประเภทต่างๆ โดยยกตัวอย่างฉันทลักษณ์นั้นๆ ประกอบด้วย
           ปัจจุบันยังมีการพบต้นฉบับสมุดข่อยที่คัดลอกสืบต่อกันมาปรากฏอยู่ตามวัดวาอาราม อาทิ วัดท่าพูด ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้เข้าไปศึกษาและเรียบเรียงรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าของผู้สนใจ

           สำหรับ “พระโหราธิบดี” ทำเนียบนักเขียนวรรณคดีของไทยระบุโดยอ้างอิงจากหนังสือประวัติวรรณคดี เล่ม 1 (กระทรวงศึกษาธิการ) ว่า เป็นกวีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ประวัติของกวี ผู้นี้ไม่แน่ชัดนัก เข้าใจกันว่าเป็นชาวพิจิตร รับราชการตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีตำแหน่งเป็นโหรหลวง

          สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เป็นคนเดียวกับพระโหราธิบดีทายหนู โดยย้อนไปรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ปรากฏว่าถวายคำพยากรณ์แม่นยำ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเชื่อถือมาก

         เล่ากันว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จอยู่ในพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์มหาปราสาท มีมุสิก (หนู) ตกลงมา ทรงเอาขันทองครอบไว้ ให้หาพระโหรามาทาย พระโหราธิบดีคำนวณแล้วทูลว่า สัตว์สี่เท้า ตรัสถามว่ากี่ตัว พระโหราธิบดีคำนวณแล้วทูลว่า สี่ตัว ตรัสว่า สัตว์สี่เท้าถูกอยู่ แต่ที่ว่าสี่ตัวนั้นผิดแล้ว ครั้นเปิดขันทองขึ้น เห็นลูกมุสิกคลานอยู่สามตัวกับแม่ตัวหนึ่งเป็นสี่ตัว ก็ทรงตรัสสรรเสริญพระโหราธิบดีว่าแม่นกว่าตาเห็นและตำนานศรีปราชญ์ที่พระปริยัติธรรมธาดาแต่งไว้ กล่าวว่าพระโหราธิบดีเป็นบิดาของศรีปราชญ์ วรรณคดีที่พระโหราธิบดีแต่งมี 2 เรื่องคือ จินดามณี และพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ

อ้างอิง


อ่านต่อ »

ความสำคัญของการสอนศาสนาในการจัดการศึกษา

พระบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง 
ความสำคัญของการสอนศาสนาในการจัดการศึกษา

อ่านต่อ »

ระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา

ศ.ดร. ธีระพันธุ์ เหลืองทองคำ
รศ.ดร.ประพาศน์ พฤทธิประภา
รศ. ดร. ประพนธ์ เจียรกูล
ดร. ชวลิต โพธินคร
ผศ.ดร. พูลทรัพย์ นาคนาคา
อจ.นงเยาว์ แข่งเพ็ญแข
อจ.พัชรา ประวาลพิทย์
และคณะ 
ระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา หรือเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี สำหรับผู้เรียนภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษาที่สอง 
ศาสตร์อันเป็นที่มาของระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา ระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษายึดศาสตร์หรือหลักวิชา 8 สาขา คือศาสตร์สาขาประสาทวิทยา ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา ศาสตร์สาขาสัทธศาสตร์และภาษาศาสตร์ ศาสตร์สาขาจิตวิทยาภาษาศาสตร์ ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์สังคมวิทยา ทฤษฎีการรับภาษาที่สอง ทฤษฎีจิตวิทยาสาขามนุษย์นิยมองค์ความรู้เรื่องสันติวิธีและหลักการสร้างค่านิยมจริยธรรมจากเรียนภาษาไทย ซึ่งมีคำอธิบายดังนี้ 

1.1 ศาสตร์สาขาประสาทวิทยาศาสตร์ (Neurosciences) 

ให้ความรู้ว่าระบบประสาทและสมองเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย แต่ทำหน้าที่พิเศษต่างจากอวัยวะอื่น คือทำหน้าที่ส่งเสริมและควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของอวัยวะทุกระบบทุกส่วนของร่างกาย สมองทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ควบคุมจิตใจ -ความรู้สึกและพฤติกรรมตลอดชีวิต และประการสำคัญที่สุดคือระบบประสาทและสมองทำหน้าที่เรื่องการรับรู้ การคิดหลายลักษณะหลายมิติ การเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์และการสร้างภาษาของสมองทั้งภาษาแม่ภาษาที่สองและภาษาต่อๆไปที่มนุษย์เรียน การเก็บบันทึกสะสมความเข้าใจในรูปของภาษาที่สมองชีกซ้ายส่วนล่างบริเวณ Wernicke's area และการนำภาษาออกไปใช้ โดยสมองซีกซ้ายส่วนบนบริเวณ Broca's area จะทำหน้าที่เรียกข้อมูลภาษาคืน (Retrieve) จากสมอง Wernicke's area ออกไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพทุกสาขา ด้านวิชาการและฐานะทางสังคมโดยทำงานร่วมกับสมอง Moter cortex ในการทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้เปล่งเสียงชัดเจนถูกต้อง จะเห็นได้ว่าการสื่อสารระหว่างบุคคลคือการทำงานของสมอง Broca's area กับสมอง Wernick's area โดยผ่านทางปาก หรือคนใช้สมอง Broca's area คุยกัน การสื่อสารไม่ใช่ใช้ปากคุยกัน แสดงให้เห็นชัดเจนว่าภาษาอยู่ในสมองมิใช่อยู่ที่ปากดังที่ระบบการศึกษาไทยยึดเป็นหลักในการสอน สมองมี 3 สมองคือสมอง Reptilian สมอง Limbic system และสมอง Neocortex ค้นพบ โดย Dr.Paul D.MacLean นักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน ปี1960 (พ.ศ. 2503) สมอง Neocortex แบ่งออกเป็น 2 ซีกคือซีกซ้ายกับซีกขวา ค้นพบโดย Dr. Roger W. Sperry และได้รับรางวัล Nobel Prize ปีค.ศ.1981 (พ.ศ. 2524) สมองซีกสมองซีกซ้ายทำหน้าที่รับรู้ คิดหลายลักษณะหลายมิติ เรียนรู้ สร้างมโนทัศน์และสร้างภาษาตามลำดับเป็นขั้นเป็นตอนไม่ข้ามขั้น ส่วนสมองซีกขวาทำหน้าที่กระบวนการสังเคราะห์ผลรวมของภาษา ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดเชิงเทียบเคียง สมองทำงานเฉพาะส่วนและร่วมกันและสามารถทำหน้าที่ทดแทนกันได้ สมองมีพัฒนาการตามลำดับเป็นขั้นเป็นตอนตามวัย ไม่ข้ามขั้น ประการสำคัญในช่วงปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิ - 5/6 ปี ระบบประสาทและสมองจะเจริญเติบโตทั้งขนาดและการรู้คิดประมาณ 80% ของผู้ใหญ่ปกติ เหลืออีก 20% เท่านั้นที่จะพัฒนาในช่วงอายุต่อไป สมองมีธรรมชาติเป็นศักยภาพจะต้องได้รับปัจจัยที่ดี 5 ประการจึงจะพัฒนาถึงขีดสูงสุดของศักยภาพได้ คือ อาหารและโภชนาการ การเล่นออกกำลังกายการพักผ่อน การได้รับความรักความภูมิใจ การมีประสบการณ์ทางสังคมที่ดีและการได้รับประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระตุ้นสมองครบส่วนและพหุปัญญา แม้สมองซีกซ้ายและขวาจะทำหน้าที่รู้คิด เรียนรู้ สร้างมโนทัศน์และสร้างภาษาก็ตาม แต่ระบบสมองส่วนกลางซึ่งทำหน้าที่ด้านจิตใจ-ความรู้สึกอารมณ์เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ จากวิทยาการเรื่องหน้าที่และกลไกการเรียนรู้และการสร้างภาษาของสมองดังกล่าว จึงได้นำมาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรคนทุกวัยทุกเชื้อชาติเพื่อพัฒนาสมองให้เจริญเติบโตถึงขีดสูงสุดของศักยภาพเท่าที่จะเป็นไปได้ของแต่ละบุคคล เพื่อให้เป็นทรัพยากรคนที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจ สามารถสร้างนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง สังคมประเทศชาติและมนุษยชาติได้ สำหรับด้านการศึกษาได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างน้อย 3 เรื่องคือ

เกิดศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์สมัยใหม่คือภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา( Neurolinguistics) 
ระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา(เทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี) เป็นการปฏิวัติวิธีสอนภาษาไทยในฐานะภาษาแม่ ในฐานะภาษาที่สอง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง รวมทั้งภาษาอื่นที่จะเรียนต่อไป เช่น ภาษากลุ่มอาเซียน 
กลุ่มสาระต่างๆได้นำกระบวนการเรียนรู้ของสมองไปพัฒนาวิธีสอนให้บรรลุจุดหมาย
แผนภูมิ 1: The Triune Brain 

แผนภูมิ 2: The Speech Chain 

1.2 ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา(Neurolinguistics) 

ให้ความรู้ว่าสมองซีกซ้ายทำหน้าที่รู้คิด การเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์และการสร้างภาษา ส่วนสมองซีกขวาจะทำหน้าที่กระบวนการสังเคราะห์ผลรวมของภาษา การบันทึกสะสมความรู้ความเข้าใจ (และประสบการณ์ทั้งหลายในชีวิต) ในรูปของความเข้าใจภาษาไว้ในสมองบริเวณ Wernicke's area และสมอง Broca ทำหน้าที่สื่อสารเรียกข้อมูลภาษาคืน (Retrieve) จากสมอง Wernicke ออกไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพทุกสาขา ด้านวิชาการและฐานะทางสังคม การทำหน้าที่สื่อสารของสมอง Broca's area จะมีสมองอีก 2 ส่วนทำงานร่วมกัน คือ Motor cortex และ Arcuate faciculus โดย Moter cortex ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้เปล่งเสียงชัดเจนและถูกต้อง ส่วน Arcuate fasciculus ซึ่งประกอบด้วยเส้นประสาทจำนวนมากมัดแน่น ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมโยงข้อมูลภาษาระหว่างสมอง Wernicke กับสมอง Broca เมื่อต้องการจะสื่อสาร สมอง Broca จะทำหน้าที่เรียกข้อมูลภาษาคืน(Retrieve) จากสมอง Wernicke นำข้อมูลความเข้าใจภาษาผ่านทางสะพานเชื่อม Arcuate faciculusออกไปทางปากเพื่อสื่อสาร โดยสมอง Motor cortex ร่วมทำงาน ดังนั้นปริมาณความเข้าใจภาษาที่บันทึกสะสมไว้ในสมองWernickeจึงมีสหสัมพันธ์ทางตรงกับการสื่อสารของสมอง Broca ถ้าสมองWernicke มีข้อมูลภาษามากหรือปานกลาง จะทำให้สมอง Broca เรียกข้อมูลภาษาออกไปสื่อสารใด้มากและปานกลาง ในทางตรงกันข้ามถ้าสมอง Wernicke บันทึกและสะสมข้อมูลภาษาในปริมาณน้อยย่อมไม่มีข้อมูลความเข้าใจภาษาให้สมอง Broca เรียกข้อมูลภาษาคืนได้ ทำให้สมอง Broca ไม่สามารถสื่อสารออกไปได้ หรือพูดไม่ได้นั่นเอง 
Paul Broca ศัลยแพทย์สมองชาวฝรั่งเศสเป็นผู้คนพบสมองส่วนนี้เมื่อปีค.ศ.1861 และเป็นผู้ประกาศวาทะที่มีชื่อเสียงว่า ศูนย์กลางของภาษาอยู่ในสมองซีกซ้ายบริเวณด้านหลังของสมองส่วนหน้า เราพูดได้เพราะสมองส่วนนี้และได้รับการตั้งชื่อว่า Broca's area ตามชื่อของเขา และอีก 10 ปีต่อมาคือปีศ.ศ. 1871 (พ.ศ. 2414) Carl Wernicke นักประสาทวิทยาชาวเยอรมันได้ค้นพบสมองที่ทำหน้าที่ด้านบันทึกและสะสมความเข้าใจภาษาซึ่งอยู่นี้บริเวณส่วนหน้าของสมองซีกซ้าย ถ้าคนไข้มีบาดแผลที่สมองบริเวณนี้จะพูดได้แต่พูดไม่รู้เรื่อง และสมองส่วนนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า Wernicke's area สมองส่วนนี้ทำหน้าที่ 4 เรื่องคือ


ความเข้าใจภาษา
กระบวนการเข้าใจความหมายของคำทั่วไปและมีความหมายเชิงนัยยะ
บันทึกและสะสมความเข้าใจภาษาในสมอง
การแปลความหมาย 


นั่นคือหน้าที่และกลไกสมองเรื่องภาษาทั้งหมดจึงเป็นที่มาของศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา (Neurolinguistics) เป็นที่มาของทฤษฎีจินตกรรมทางภาษา (The Cognitive Code Learning Theory) และระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา (หรือเทคนิคการสอนรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี) ดังนั้นสพฐ(สปช)ได้นำวิทยาการดังกล่าวมาปฏิวัติวิธีสอนทั้งระดับอนุบาลศึกษาและประถมศึกษา กล่าวคือระดับอนุบาลศึกษาเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการอนุบาลชนบทปีพ.ศ. 2529 แล้ว จึงดำเนินโครงการย่อยที่ 1 ด้านคุณภาพวิธีสอนหรือการจัดกิจกรรมประจำวันด้วยเทคนิคบูรณาการสมองครบส่วนและพหุปัญญาทั้งนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษาที่สองใน 5 จังหวัดภาคใต้ 9 จังหวัดภาคเหนือและ 3 จังหวัดภาคอิสานตอนล่าง โดยจัดทำเป็นรายการโทรทัศน์ชื่อรายการ ขอให้หนูคิดเอง เมื่อปีพ.ศ. 2537 จำนวน 56 รายการ เพื่อสาธิตวิธีสอนแบบใหม่อบรมและพัฒนาครูอนุบาลศึกษาให้ถึงครูอย่างรวดเร็วและนำไปใช้ได้ทันทีพร้อมกันทั้งประเทศ กล่าวได้ว่าเป็นการสาธิตวิธีสอนแบบพัฒนาสมองครบส่วนและพหุปัญญาด้วยระบบการศึกษาทางไกล(โทรทัศน์)ที่ยาวที่สุดในวงการศึกษาไทย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์การศึกษา 3 ท่าน คือหม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำและรศ.ดร.ประพาศน์ พฤทธิประภา สำหรับโครงการย่อยที่ 2 ปฏิวัติวิธีสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาทั้งภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษาที่สอง ด้วยระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา(ซึ่งระยะแรกใช้ชื่อเทคนิคการสอนรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี เพื่อให้เข้าใจง่าย) เริ่มศึกษาตั้งแต่พ.ศ. 2530-ปัจจุบัน โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านดังกล่าวเป็นฝ่ายวิชาการ มีผลงานคู่มือครู ตำราและรายงานวิจัย จัดพิมพ์คู่มือครูเรื่องเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมจำนวน40,000เล่ม แจกทุกโรงเรียนและสำนักงานสังกัดสพฐ(สปช)ทุกแห่ง และเมื่อปีพ.ศ.2543-2544 สพฐ/สปชได้วิจัยเปรียบเทียบวิธีสอนภาษาไทย 3 วิธี คือ เทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรม วิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา(มปภ)และวิธีสอนแบบบูรณาการขึ้นอยู่กับความถนัดของครูผู้สอน สำหรับเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมยึดศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยาหรือภาษาอยู่ในสมอง ส่วนวิธีสอนแบบมปภและแบบบูรณาการยึดทฤษฎีพฤติกรรมทางภาษาเชื่อว่าภาษาอยู่ที่ปาก ผลการวิจัยพบว่าในระยะยาวชั้นป.2 เทคนิคการสอนแบบรับภาษามีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าวิธีสอนแบบบูรณาการและวิธีสอนแบบมปภตามลำดับ และชั้นป.3และป.4 เปรียบเทียบกับการประเมินผลแบบNT เทคนิคการสอนรับภาษามีคะแนนเฉลี่ยต่างกับวิธีสอนแบบบูรณาการและวิธีสอนร้อยละ7.97 และ 6.7 ตามลำดับ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรม ยึดหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษาและมีผลวิจัยรองรับ สำหรับเทคนิคการสอนออกแบบเป็น 3 ระยะดังนี้

ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมในการอ่าน (Pre-reading) เพื่อสร้างความสนใจในการเรียน ให้นักเรียนอยากเรียน อยากอ่าน อยากเขียน ไม่ต้องการให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ทันที แต่ไม่อยากอ่านไม่อยากเขียนไม่อยากเรียน ฝึกทักษะการอ่านแบบคร่าวๆ (Skim) ฝึกการเดาคาดคะเนสาระโดยรวมจากเรื่องที่อ่านหรือหา Gist (General Information System) คำใหม่อ่านไม่ออกไม่ต้องอ่าน ให้ข้ามไป ให้ถามนักเรียนว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร นักเรียนย่อมคาดเดาต่างๆกัน ให้ถามเหตุผลและคำหรือข้อความใดที่ทำให้นักเรียนคาดเดาเช่นนั้น สภาพในสมองของนักเรียนจะงัน-งงเพราะต้องเดาคาดคะเน ไม่มั่นใจว่าจะถูกหรือจะผิด 

ระยะที่ 2 การสร้างทักษะภาษาและทักษะการคิด (During reading ) เพื่อฝึกทักษะการอ่านแบบต่างๆได้แก่การอ่านแบบพินิจ (Scan) เพื่อหาใจความหลักและใจความรอง ฝึกทักษะการเรียนคำใหม่แบบแจกลูกสะกดคำหรือแบบจำเป็นคำและความหมายของคำในบริบทของแบบเรียนและสถานการณ์จริงข้อมูลจริงต่างๆ ฝึกทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ สำหรับทักษะการคิดจะฝึกประเมินเรื่องที่อ่าน ฝึกตั้งคำถามเรื่องที่อ่าน 3 - 5 คำถามขึ้นอยู่กับระดับชั้นของนักเรียน ฝึกการตั้งคำถามระดับสูงการคิดวิเคราะห์ใช้ข้อมูลเหตุผล บูรณาการจริยธรรมในแบบเรียน ฝึกใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนร่วมมากกว่าส่วนตน ฝึกการตั้งคำถามปลายเปิด นักเรียนสามารถคิดหาคำตอบที่หลากหลายไม่ผิด เพื่อฝึกความคิดจินตนาการหรือความคิดสร้างสรรค์ สำหรับสภาพในสมองนักเรียนจะเรียนรู้ เข้าใจตามลำดับเรียกว่าระยะเงย-งอก จากการทำกิจกรรมต่างๆทำให้สมองเรียนรู้สามารถสร้างความเข้าใจภาษามากยิ่งขึ้น เล่าอธิบายถูกต้องและสร้างสรรค์ สภาพภายในสมองจึงเป็นระยะง่าย-งาม สมองWernickeบันทึกสะสมความเข้าใจภาษาได้มาก ทำให้มีความพร้อมเรียนการเขียน 

ระยะที่ 3 สร้างทักษะการเขียน (Post reading ) จากกิจกรรม ระยะที่1 ระยะที่ 2 ทำให้นักเรียนมีข้อมูลภาษาในสมอง Wernickeมาก มีทักษะภาษาและทักษะการคิดเพียงพอ สำหรับการเขียนขั้นต้น เน้นการแสดงความคิดออกทางการเขียน ยังไม่เน้นเทคนิคการเขียน สำหรับการเขียนคำผิดให้ค่อยๆแก้ไข แนวทางจัดกิจกรรมการสอนเขียน เช่นการเขียนสรุปด้วยภาษาของนักเรียน ถ้านักเรียนเป็น...จะพูดอะไรกับคน/สัตว์ที่เกี่ยวข้อง นักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับ...คน คนปฏิบัติอย่างไรกับ... เขียนประสบการณ์ของนักเรียนที่เคยมีปัญหาเช่นเดียวกับตัวละครในเรื่องที่อ่านและวิธีแก้ไข ช่วยกันทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์วิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลดี การวาดภาพและเขียนเล่าเรื่อง นักเรียนช่วยกันทำหนังสือฯ กิจกรรมดังกล่าวเสนอแนะให้ทำเพิ่มเติมจากการทำแบบฝึกหัดประประจำบทเรียน
ในระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา ครูจะใช้เวลาประมาณ 80% ใน 1 ชั่วโมง
จากกระบวนการสร้างและรับ / เรียนภาษาของสมองดังกล่าว Vygotsky ได้สรุปให้เห็นชัดเจนว่า "Language is added by speech, not the reverse" หมายถึง ความคิดแสดงออกทางภาษา แต่ไม่เป็นปฏิภาคกัน ดังนั้น การใช้วิธีสอนที่ไม่ให้สมองคิดและสร้างภาษาจะทำให้นักเรียนคิดไม่เป็น
แผนภูมิ 3: นักเรียนกับการรับเรียนภาษา 5 ขั้นและทุกกลุ่มของสมอง

แผนภูมิ 4: เทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรม

แผนภูมิ 5: วิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา

แผนภูมิ 6: ขั้นตอนในการสอนฟัง พูด อ่าน เขียน แบบรับภาษา

แผนภูมิ 7: ทฤษฎีและเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับสันติวิธี

1.3 ศาสตร์สาขาสัทธศาสตร์และภาษาศาสตร์ (Phonetics&Linguistics) 

ให้ความรู้ว่าโครงสร้างของภาษาประกอบด้วย 5ระบบคือหน่วยเสียง(Phoneme) หน่วยคำ((Morpheme) วากยสัมพันธ์(Syntax) ว่าด้วยการประกอบคำเป็นประโยคหน้าที่ของคำในประโยค อรรถศาสตร์ (Semantics) ศึกษาของเขตของความคิดตั้งแต่ความคิดทั่วไปจนถึงขั้นสัญลักษณ์กับความฉลาดที่เลือกใช้คำและประโยคที่มีความหมายเป็นนัยยะและวัจนปฏิบัติศาสตร์(Pragmatics) คือการศึกษาวิธีสื่อสารของผู้พูดกับการตีความของผู้ฟัง เน้นความเข้าใจสาระมากกว่าความหมายของศัพท์ สำหรับการนำไปใช้จัดการเรียนการสอนทั้งชั้นเริ่มเรียนภาษาแม่หรือภาษาที่2 จะต้องจัดให้ครบ 3 ระบบแรกจึงจะทำให้นักเรียนมีทักษะภาษาขั้นที่ 1-2 พูด-ฟัง สามารถฟังสารสื่อสารได้ สาเหตุที่นักเรียนไทยสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 ไม่ได้แม้จะเรียนมากกว่า 10 ปีเพราะครูสอนภาษาอังกฤษ เพียง 2 ระบบ แรกคือเสียงกับความหมายหรือสอนศัพท์กับสอนแบบแปล-ไวยากร หรือแม้กระทั่งการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 ในโรงเรียนชายแดนรอบประเทศสอนเพียง 2 ระบบแรกคือเสียงกับความหมายคือสอนคำหรือสอนศัพท์ ให้พูดตามครูซ้ำๆซากๆยัดเยียดเคี่ยวเข็ญ ถ้านักเรียนออกเสียงไม่ถูกพูดไม่ถูก ครูจะแก้ไขทันทีแก้ไขและฝึกซ้ำๆ ทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายการเรียนภาษาไทย และออกกลางคัน ส่งผลกระทบทั้งระดับบุคคล ครอบครัว สังคมและความมั่นคงของประเทศชาติ อย่างไรก็ตามภาษาไทยไม่ใช่ภาษาต่างประเทศแท้ๆสำหรับประชาชนในบริเวณชายแดน พวกเขาใช้ภาษาไทยเสมอในการซื้อ-ขาย ติดต่อราชการ ไปโรงพยาบาลโรงเรียน ฟังข่าวสารจากวิทยุโทรทัศน์ ประชาชนรู้ดีว่าความรู้ภาษาไทยมีประโยชน์ต่อชีวิตของพวกเขาและบุตรหลาน ผู้ปกครองมักบ่นว่าโรงเรียนหลวงไม่มีความสามารถสอนลูกหลานของเขาให้อ่าน-เขียนภาษาไทยได้(นิธิ เอียวศรีวงศ์. ภาษาประเทศสำหรับชาวมลายู.มติชน 14 ม.ค.2551)มูลเหตุคือระบบการศึกษาไทยใช้วิธีสอนที่เชื่อว่าภาษาไทยอยู่ที่ปากจึงใช้วิธีสอนสร้างนิสัย(The Language Formation Apporach 1.2 ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา(Neurolinguistics) ให้ความรู้ว่าสมองซีกซ้ายทำหน้าที่รู้คิด การเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์และการสร้างภาษา ส่วนสมองซีกขวาจะทำหน้าที่กระบวนการสังเคราะห์ผลรวมของภาษา การบันทึกสะสมความรู้ความเข้าใจ(และประสบการณ์ทั้งหลายในชีวิต)ในรูปของความเข้าใจภาษาไว้ในสมองบริเวณWernicke's area และสมองBrocaทำหน้าที่สื่อสารเรียกข้อมูลภาษาคืน(Retrieve)จากสมองWernickeออกไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพทุกสาขา ด้านวิชาการและฐานะทางสังคม การทำหน้าที่สื่อสารของสมองBroca's area จะมีสมองอีก 2ส่วนทำงานร่วมกัน คือ Motor cortex และArculate faciculus โดยMoter cortexทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้เปล่งเสียงชัดเจนและถูกต้อง ส่วนArculate faciculus ซึ่งประกอบด้วยเส้นใหญ่ประสาทจำนวนมากมัดแน่น ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมโยงข้อมูลภาษาระหว่างสมองWernickeกับสมองBroca เมื่อต้องการจะสื่อสาร สมองBrocaจะทำหน้าที่เรียกข้อมูลภาษาคืน(Retrieve) จากสมองWernicke นำข้อมูลความเข้าใจภาษาผ่านทางสะพานเชื่อมArculate faciculusออกไปทางปากเพื่อสื่อสารโดยสมองMotor cortexร่วมทำงาน ดังนั้นปริมาณความเข้าใจภาษาที่บันทึกสะสมไว้ในสมองWernickeจึงมีสหสัมพันธ์ทางตรงกับการสื่อสารของสมองBroca ถ้าสมองWernickeมีข้อมูลภาษามากหรือปานกลาง จะทำให้สมองBrocaสื่อสารใด้มากและปานกลาง ในทางตรงกันข้ามถ้าสมองWernickeบันทึกและสะสมข้อมูลภาษาในปริมาณน้อยย่อมไม่มีข้อมูลความเข้าใจภาษาให้สมองBroca เรียกข้อมูลภาษาคืนได้ ทำให้สมองBrocaไม่สามารถสื่อสารออกไปได้ หรือพูดไม่ได้นั่นเอง Paul Broca ศัลยแพทย์สมองชาวฝรั่งเศสเป็นผู้คนพบสมองส่วนนี้เมื่อปีค.ศ.1861 และเป็นผู้ประกาศวาทะที่มีชื่อเสียงว่าศูนย์กลางของภาษาอยู่ในสมองซีกซ้ายบริเวณด้านหลังของสมองส่วนหน้า เราพูดได้เพราะสมองส่วนนี้และได้รับการตั้งชื่อว่าBroca area ตามชื่อของเขา และอีก10ปีต่อมาคือปีศ.ศ. 1871 (พ.ศ. 2414) Carl Wernicke นักประสาทวิทยาชาวเยอรมันได้ค้นพบสมองที่ทำหน้าที่ด้านบันทึกและสะสมความเข้าใจภาษาซึ่งอยู่นี้บริเวณส่วนหน้าของสมองซีกซ้าย ถ้าคนไข้มีบาดแผลที่สมองบริเวณนี้จะพูดได้แต่พูดไม่รู้เรื่อง และสมองส่วนนี้ได้รับการตั้งชื่อว่าWernicke's area สมองส่วนนี้ทำหน้าที่ 4 เรื่องคือความเข้าใจภาษา กระบวนการเข้าใจความหมายของคำทั่วไปและมีความหมายเชิงนัยยะ บันทึกและสะสมความเข้าใจภาษาในสมองและการแปลความหมาย นั่นคือหน้าที่และกลไกสมองเรื่องภาษาทั้งหมดจึงเป็นที่มาของศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา(Neurolinguistics) เป็นที่มาของทฤษฎีจินตกรรมทางภาษา(The Cognitive Code Learning Theory)และระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา (หรือเทคนิคการสอนรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี) ดังนั้นสพฐ(สปช)ได้นำวิทยาการดังกล่าวมาปฏิวัติวิธีสอนทั้งระดับอนุบาลศึกษาและประถมศึกษา กล่าวคือระดับอนุบาลศึกษาเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการอนุบาลชนบทปีพ.ศ. 2529 แล้ว จึงดำเนินโครงการย่อยที่ 1 ด้านคุณภาพวิธีสอนหรือการจัดกิจกรรมประจำวันด้วยเทคนิคบูรณาการสมองครบส่วนและพหุปัญญาทั้งนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษาที่ 2ใน 5 จังหวัดภาคใต้ 9 จังหวัดภาคเหนือและ 3 จังหวัดภาคอิสานตอนล่าง โดยจัดทำเป็นรายการโทรทัศน์ชื่อรายการขอให้หนูคิดเองเมื่อปีพ.ศ. 2537 จำนวน 56 รายการ เพื่อสาธิตวิธีสอนแบบใหม่อบรมและพัฒนาครูอนุบาลศึกษาให้ถึงครูอย่างรวดเร็วและนำไปใช้ได้ทันทีพร้อมกันทั้งประเทศ กล่าวได้ว่าเป็นการสาธิตวิธีสอนแบบพัฒนาสมองครบส่วนและพหุปัญญาด้วยระบบการศึกษาทางไกล(โทรทัศน์)ที่ยาวที่สุดในวงการศึกษาไทย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์การศึกษา3ท่าน คือหม่อมดุษฎี บริพัตรฯ ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำและรศ.ดร.ประพาศน์ พฤทธิประภา สำหรับโครงการย่อยที่ 2 ปฏิวัติวิธีสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาทั้งภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษาที่ 2 ด้วยระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา(ซึ่งระยะแรกใช้ชื่อเทคนิคการสอนรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี เพื่อให้เข้าใจง่าย) เริ่มศึกษาตั้งแต่พ.ศ. 2530-ปัจจุบัน โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านดังกล่าวเป็นฝ่ายวิชาการ มีผลงานคู่มือครู ตำราและรายงานวิจัย จัดพิมพ์คู่มือครูเรื่องเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมจำนวน40,000เล่ม แจกทุกโรงเรียนและสำนักงานสังกัดสพฐ(สปช)ทุกแห่ง เมื่อปีพ.ศ.2543-2544 สพฐ/สปชได้วิจัยเปรียบเทียบวิธีสอนภาษาไทย 3 วิธี คือเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรม วิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา(มปภ)และวิธีสอนแบบบูรณาการขึ้นอยู่กับความถนัดของครูผู้สอน สำหรับเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมยึดศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยาหรือภาษาอยู่ในสมอง ส่วนวิธีสอนแบบมปภและแบบบูรณาการยึดทฤษฎีพฤติกรรมทางภาษาเชื่อว่าภาษาอยู่ที่ปาก ผลการวิจัยพบว่าในระยะยาวชั้นป.2 เทคนิคการสอนแบบรับภาษามีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าวิธีสอนแบบบูรณาการและวิธีสอนแบบมปภตามลำดับ และชั้นป.3และป.4 เปรียบเทียบกับการประเมินผลแบบNT เทคนิคการสอนรับภาษามีคะแนนเฉลี่ยต่างกับวิธีสอนแบบบูรณาการและวิธีสอนแมปภร้อยละ7.97และ6.7ตามลำดับ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของเทคนิคการสอนแบบรับภาษายึดหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษาและมีผลวิจัยรองรับ สำหรับเทคนิคการสอนออกแบบเป็น 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมในการอ่าน(Pre-reading) เพื่อสร้างความสนใจในการเรียน ให้นักเรียนอยากเรียนอยากอ่านอยากเขียน ไม่ต้องการให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ทันที แต่ไม่อยากอ่านไม่อยากเขียนไม่อยากเรียน ฝึกทักษะการอ่านแบบคร่าวๆ(Skim) ฝึกการเดาคาดคะเนสาระโดยรวมจากเรื่องที่อ่านหรือหาGist (General Information System) คำใหม่อ่านไม่ออกไม่ต้องอ่าน ให้ข้ามไป ให้ถามนักเรียนว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร นักเรียนย่อมคาดเดาต่างๆกัน ให้ถามเหตุผลและคำหรือข้อความใดที่ทำให้นักเรียนคาดเดาเช่นนั้น สภาพในสมองของนักเรียนจะงัน-งงเพราะต้องเดาคาดคะเน ไม่มั่นใจว่าจะถูกหรือจะผิด ระยะที่ 2 การสร้างทักษะภาษาและทักษะการคิด (During reading ) เพื่อฝึกทักษะการอ่านแบบต่างๆได้แก่การอ่านแบบพินิจ(Scan)เพื่อหาใจความหลักและใจความรอง ฝึกทักษะการเรียนคำใหม่แบบแจกลูกสะกดคำหรือแบบจำเป็นคำและความหมายของคำในบริบทของแบบเรียนและสถานการณ์จริงข้อมูลจริงต่างๆ ฝึกทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ สำหรับทักษะการคิดจะฝึกประเมินเรื่องที่อ่าน ฝึกตั้งคำถามเรื่องที่อ่าน 3 - 5 คำถามขึ้นอยู่กับระดับชั้นของนักเรียน ฝึกการตั้งคำถามระดับสูงการคิดวิเคราะห์ใช้ข้อมูลเหตุผล บูรณาการจริยธรรมในแบบเรียน ฝึกใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนร่วมมากกว่าส่วนตน ฝึกการตั้งคำถามปลายเปิด นักเรียนสามารถคิดหาคำตอบที่หลากหลายไม่ผิดเพื่อฝึกความคิดจินตนาการหรือความคิดสร้างสรรค์ สำหรับสภาพในสมองนักเรียนจะเรียนรู้ เข้าใจตามลำดับเรียกว่าระยะเงย-งอก จากการทำกิจกรรมต่างๆทำให้สมองเรียนรู้สามารถสร้างความเข้าใจภาษามากยิ่งขึ้น เล่าอธิบายถูกต้องและสร้างสรรค์ สภาพภายในสมองจึงเป็นระยะง่าย-งาม สมองWernickeบันทึกสะสมความเข้าใจภาษาได้มาก ทำให้มีความพร้อมเรียนการเขียน ระยะที่ 3 สร้างทักษะการเขียน (Post reading ) จากกิจกรรม ระยะที่1 ระยะที่ 2 ทำให้นักเรียนมีข้อมูลภาษาในสมองWernickeมาก มีทักษะภาษาและทักษะการคิดเพียงพอ สำหรับการเขียนขั้นต้น เน้นการแสดงความคิดออกทางการเขียน ยังไม่เน้นเทคนิคการเขียน สำหรับการเขียนคำผิดให้ค่อยๆแก้ไข แนวทางจัดกิจกรรมการสอนเขียน เช่นการเขียนสรุปด้วยภาษาของนักเรียน ถ้านักเรียนเป็น...จะพูดอะไรกับคน/สัตว์ที่เกี่ยวข้อง นักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับ...คน คนปฏิบัติอย่างไรกับ... เขียนประสบการณ์ของนักเรียนที่เคยมีปัญหาเช่นเดียวกับตัวละครในเรื่องที่อ่านและวิธีแก้ไข ช่วยกันทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์วิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลดี การวาดภาพและเขียนเล่าเรื่อง นักเรียนช่วยกันทำหนังสือฯ กิจกรรมดังกล่าวเสนอแนะให้ทำเพิ่มเติมจากการทำแบบฝึกหัดประประจำบทเรียน 1.3 ศาสตร์สาขาสัทธศาสตร์และภาษาศาสตร์ (Phonetics&Linguistics) ให้ความรู้ว่าโครงสร้างของภาษาประกอบด้วย 5ระบบคือหน่วยเสียง(Phoneme) หน่วยคำ((Morpheme) วากยสัมพันธ์(Syntax) ว่าด้วยการประกอบคำเป็นประโยคหน้าที่ของคำในประโยค อรรถศาสตร์ (Semantics) ศึกษาของเขตของความคิดตั้งแต่ความคิดทั่วไปจนถึงขั้นสัญลักษณ์กับความฉลาดที่เลือกใช้คำและประโยคที่มีความหมายเป็นนัยยะและวัจนปฏิบัติศาสตร์(Pragmatics) คือการศึกษาวิธีสื่อสารของผู้พูดกับการตีความของผู้ฟัง เน้นความเข้าใจสาระมากกว่าความหมายของศัพท์ สำหรับการนำหลักวิชาสัทธศาสตร์และภาษาศาสตร์จัดการเรียนการสอนภาษาทั้งชั้นเริ่มเรียนภาษาแม่หรือภาษาที่2 จะต้องจัดให้ครบ 3 ระบบแรกจึงจะทำให้นักเรียนมีทักษะภาษาขั้นที่ 1-2 พูด-ฟัง สามารถฟังสารสื่อสารได้ สาเหตุทำให้นักเรียนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองไทยหรือเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 สื่อสารไม่ได้แม้จะเรียนมากกว่า 10 ปีเพราะครูสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 สอนโครงสร้างภาษาเพียง 2 ระบบแรก คือเสียงกับความหมายหรือสอนศัพท์กับสอนแบบแปล-ไวยากรณ์ ไม่ได้สอนวากยสัมพันธ์หรือหน้าที่ของคำในประโยค การสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 ในโรงเรียนชายแดนรอบประเทศก็สอนเพียงสอนเพียง 2 ระบบแรกคือเสียงกับความหมายคือสอนคำหรือสอนศัพท์ ครูจะพูดสอนคำและความหมาย นักเรียนพูดตาม ครูฝึกซ้ำๆซากๆยัดเยียดเคี่ยวเข็ญ ถ้านักเรียนออกเสียงไม่ถูกพูดไม่ถูก ครูจะแก้ไขทันทีและฝึกซ้ำๆ ทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายการเรียนภาษาไทย และออกกลางคัน ส่งผลกระทบทั้งระดับบุคคล ครอบครัว สังคมและความมั่นคงของประเทศชาติ อย่างไรก็ตามภาษาไทยไม่ใช่ภาษาต่างประเทศแท้ๆสำหรับประชาชนในบริเวณชายแดน พวกเขาใช้ภาษาไทยเสมอในการซื้อ-ขาย ติดต่อราชการ ไปโรงพยาบาลโรงเรียน ฟังข่าวสารจากวิทยุโทรทัศน์ ประชาชนรู้ดีว่าความรู้ภาษาไทยมีประโยชน์ต่อชีวิตของพวกเขาและบุตรหลาน ผู้ปกครองมักบ่นว่าโรงเรียนหลวงไม่มีความสามารถสอนลูกหลานของเขาให้อ่าน-เขียนภาษาไทยได้(นิธิ เอียวศรีวงศ์. ภาษาต่างประเทศสำหรับชาวมลายู มติชน 14 มค.2551) มูลเหตุคือระบบการศึกษาไทยยึดความเชื่อว่าภาษาอยู่ที่ปากจึงใช้วิธีสอนแบบสร้างนิสัย(The Language Formation Approach) ทั้งภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 และสอนโครงสร้างภาษาเพียง 2 ระบบคือเสียงกับความหมาย มุ่งการออกเสียงที่ถูกต้อง ละเลยการใช้ภาษา


1.4 ทฤษฎีจิตวิทยาภาษาศาสตร์ (Psycholinguistics) 

ให้ความรู้ว่าพัฒนาการทุกด้านของผู้เรียนหรือวัยของผู้เรียนทั้งด้านจิตใจ-ความรู้สึกอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา สมรรถภาพของสมองในการรู้คิด การเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์การสร้างภาษาและด้านร่างกายของเด็กแต่ละวัยตั้งแต่ระดับอนุบาลศึกษา ประถมศึกษาหรือวัยเด็กตอนต้น ตอนกลางและตอนปลาย ระดับมัธยมศึกษาวัยรุ่นตอนต้น ตอนกลางและตอนปลายพัฒนาการทุกด้าน จะเป็นหลักในและการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนของระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา แต่การศึกษาวิจัยด้านจิตใจ-ความรู้สึกของนักเรียนแสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนยังไม่เข้าใจจิตวิทยาผู้เรียนทั้งเด็กและวัยรุ่นกล่าวคือ การศึกษาวิจัยของสำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ปี 2554 โรงเรียนสังกัด กทม.พบว่า นักเรียนเบื่อการเรียน มีการแข่งขันทางการเรียนมาก เบื่อครู เคยหนีเรียน ไม่อยากเรียน อยากออกไปหางานทำ การศึกษาของศ.คลินิกพญ. วินัดดา ปิยะศิลป์ ผช.ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีพบเด็กมีพฤติกรรมกลุ่มอาการเร่งเรียน- เรียนมากเกินวัย (Hurried child syndrome) มีทั้งเด็กเรียนเก่งและเรียนอ่อน เด็กจะบ่นว่าไม่อยากเรียน เหนื่อย เฉยเมย มีพฤติกรรมไม่สมวัย ไม่รับผิดชอบ เด็กบางคนสนุกร่าเริง พูดเก่ง สังคมดี ชอบเป็นผู้นำเด็กที่เล็กกว่า แต่ไม่ชอบเรียน การศึกษาเรื่องเวลาเรียนของนักเรียนไทยพบว่า ต้องเรียนถึงวันละ 8-11/12ชั่วโมง วิทยาการเรื่องระบบประสาทและสมองให้ความรู้ว่า การใช้สมองเรียนหรือคิดในการทำงานเกิน 5 ชั่วโมง สมองจะล้า ทำให้ด้อยประสิทธิภาพในการเรียนรู้ การคิดจะเลียนแบบ ทำตาม จะไม่สามารถคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ หรือคิดวิธีการใหม่ๆได้ การศึกษาเรื่องการออกกลางคันนักเรียนชั้นป.1-ม.6 ปีการศึกษา 2541-2551 พบว่ามีนักเรียนออกกลางคันถึงร้อยละ 42.28 (http:\\www.moc.go.th) ซึ่งสาเหตุหนึ่งในหลายสาเหตุคือไม่อยากเรียนและเรียนอ่อน เนื่องจากระบบการศึกษาไทยยังไม่เข้าใจจิตวิทยาผู้เรียนแต่ละวัยและหน้าที่และกลไกการเรียนรู้ของสมองรวมทั้งประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของสมอง ดังจะเห็นได้จากการจัดเนื้อหาสาระของหลักสูตร การกำหนดจำนวนชั่วโมงเรียนต่อปีการศึกษา การจัดตารางสอนที่แน่นด้วยเนื้อหาสาระแทบทุกชั่วโมงติดต่อกัน และเรียนต่ออีกหลังจากเรียนทั้งวันคือเรียนพิเศษ เรียนเสริมทักษะหรือเรียนกวดวิชา ทำให้สมองเด็กล้า ไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปฏิรูปวิธีสอนจึงต้องนำประเด็นนี้มาพิจารณาด้วย

1.5 ทฤษฎีการรับภาษาที่สอง(The Second Language Acquisition Approach) 

ศาสตร์สาขาประสาทวิทยาและศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยาที่ให้ความรู้ว่า สมองซีกซ้าย-ขวาสร้างภาษาทั้งภาษาแม่ภาษาที่สองและภาษาต่อๆไปที่มนุษย์เรียนรู้ บันทึกสะสมความเข้าใจภาษาไว้ในสมอง Wernicke และสมอง Broca จะทำหน้าที่เรียกข้อมูลภาษาคืนจากสมอง Wernicke ออกไปใช้สื่อสาร ดังนั้นกระบวนการเรียนการสอนภาษาที่สองจึงคล้ายกับการเรียนภาษาแม่ ความแตกต่างมี 2 ประการคือ 


เวลา(Time) แต่ละขั้นตอนของการ รับ-เรียนภาษาที่สองจะต้องจัดเวลาให้นักเรียนทำกิจกรรมสร้างภาษาในสมองเพียงพอ ไม่เร่งรัดหรือนานเกินไปเพราะจะทำให้นักเรียนเบื่อการเรียน
ระยะสร้างภาษาที่สองในสมองนักเรียน การจัดกิจกรรมจะต้องยึดลำดับขั้นตอนเรียนรู้ การสร้างภาษาของสมองซีก ซ้าย-ขวา กิจกรรมจะต้องมีคุณภาพคือใช้ประโยคหลักเสมอ(Quality)และเพิ่มความท้าทายทีละน้อย และต้องเชื่อมโยงกับความรู้เดิมในสมอง(Activate schema) จัดหลายกิจกรรม (Quantity) ต้องเป็นกระบวนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆจนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Scaffold) กิจกรรมต้องกระตุ้นสมองครบส่วนและพหุปัญญา(Variety) หรือ QQVT 


ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำและรศ.ดร.ประพาศน์ พฤทธิประภาผู้เชี่ยวชาญระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษาได้ออกแบบเทคนิคการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี (The Second Language Acquisition Approach Cum Moral Development and Peace Instruction: SLAMP) อธิบายสภาพการรับ/เรียนภาษาที่สองภายในสมองของนักเรียนไว้ 4 ระยะ ระยะที่ 1 รับและสะสมความเข้าใจภาษาที่สองในสมอง หรือสร้างภาษาที่สองในสมอง นักเรียนจะยังไม่เข้าใจ ทำให้สมองมึนงงสับสน เพื่อให้เข้าใจง่ายและจำได้ จึงใช้อักษรย่อ ง อธิบายสภาพการทำงานภายในสมอง คือ ขั้นงง ขั้นเงียบ ขั้นแง้ม ขั้นงอก และขั้นงาม ( 5ง งง / เงียบ / แง้ม / งอก / งาม) สำหรับนักเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษาหรือผู้ใหญ่ มีข้อมูลภาษาที่สองในสมองจำนวนหนึ่ง เมื่อเรียนระยะที่ 2 การเตรียมความพร้อมในการอ่าน-เขียน (Pre-reading) บทเรียนใหม่ย่อมทำให้สมองมึนงง สับสน เนื่องจากใช้ทักษะการอ่านแบบคร่าวๆ (Skim) การเดาคาดคะเนเรื่องที่อ่าน ไม่มั่นใจว่าจะเดาคาดคะเนถูกหรือผิด จึงให้ชื่อตามสภาพในสมองว่างัน-งง เมื่อเรียนระยะที่ 3 การสร้างทักษะภาษาและทักษะการคิด (During reading) ทำกิจกรรมรับ/เรียนภาษาที่สอง ใช้เทคนิควิธีสอนการสร้างทักษะภาษาและทักษะการคิดตุ้นสมองซีกซ้าย-ขวา -ให้เรียนรู้ สร้างมโนทัศน์และเริ่มสร้างภาษาได้ จึงให้ชื่อตามสภาพเรียนรู้เข้าใจบ้างในสมองจะเริ่มสร้างภาษาได้ เรียกว่า เงย-งอก และเมื่อสมองสร้างมโนทัศน์และสร้างภาษาได้มากๆเก็บบันทึกไว้ในสมอง Wernicke มากทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนใหม่ เกิดความรู้สึกว่าง่ายไม่ยาก และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาที่สอง มีความพร้อมที่จะเรียนระยะต่อไป จึงให้ชื่อตามสภาพสมองว่าระยะง่าย-งาม 

ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองท่านได้ออกแบบการรับ-เรียนภาษาที่ สองไว้ 4 ระยะดังนี้ 

ระยะที่1 รับและสะสมความเข้าใจภาษาที่สองในสมอง (Speech comprehension) คือขั้นพูด-ฟัง กล่าวคือครูจะพูดภาษาที่สองในการทำกิจกรรมกับนักเรียนให้มากที่สุด เพื่อกระตุ้น สมองซีกซ้าย-ขวาสร้างภาษาที่สอง(Built schema)และบันทึกสะสมความเข้าใจภาษาไว้ในสมองWernickeให้มากๆ เนื่องจากสมองยังไม่มีภาษาที่สองมาก่อน เพื่อให้สมองBroca เรียกข้อมูลภาษาคืนจากสมองWernickeออกไปสื่อสารได้มาก แบ่งออกเป็น 2 ขั้น สำหรับขั้นที่ 1งง(Confusing stage)แสดงสภาพในสมองของนักเรียนจะมึนงง สับสน เพราะไม่เข้าใจภาษาที่ครูพูดกระตุ้น จึงดูครูและดูเพื่อนตลอดเวลา หลักการจัดกิจกรรมที่ผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่านให้ไว้เป็นสมการคือ C I = i + 1 เมื่อ i + 1 = QQVT สำหรับ C I(Comprehensible Input) หมายถึงกิจกรรมสร้างภาษาที่สองจะต้องมีคุณภาพสร้างความเข้าใจภาษาที่สองในสมองได้ และ i + 1 = QQVT หมายถึงกิจกรรมเล็กๆหลายกิจกรรมจะต้องมีคุณภาพ (Quality) ต่อกันเป็นกระบวนเสริมกัน(Scaffold) กล่าวคือครูต้องพูดประโยคหลักเสมอ เพิ่มความท้าทายทีละน้อยตามตารางกิจกรรมประจำวันหรือตารางสอน ตามสถานการณ์ ของจริงหรือใช้ภาษากายTPR(Total Physical Response) สอนความหมาย ห้ามพูดเรื่อยๆ พูดแบบเน้นและพูดแบบตะโกน ขั้นที่ 2 เงียบ(Comprehending stage) หมายถึงนักเรียนเริ่มเข้าใจภาษาที่สองที่ครูกระตุ้นสร้างเสริมจากการทำกิจกรรมประจำวันหรือตารางสอน ทำให้นักเรียนมีอิสระมากขึ้น ทำกิจกรรมการเรียนและกิจวัตรต่างๆ ได้ด้วยตนเอง พฤติกรรมมึนงงไม่เข้าใจจะหายไป ครูและนักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมการเรียนได้สะดวกและสนุกมากขึ้น กระตุ้นให้ซีกซ้าย-ขวา รู้คิด เรียนรู้ สร้างมโนทัศน์และสร้างความเข้าใจภาษาได้มากขึ้นตามลำดับ และบันทึกสะสมความเข้าใจภาษา ไว้ในสมองWernickeได้มากๆ ทำให้เกิดความพร้อมในการพูดหรือการส่งภาษาออกไปสื่อสารได้มากและมั่นใจ ปัญหาที่การเรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองและเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองเป็นเวลานานหลายปี นักเรียนสื่อสารแทบไม่ได้เ เพราะครูไม่เข้าใจความสำคัญของระยะที่ 1 การได้รับและสะสมความเข้าใจภาษาที่สองในสมองและเทคนิคการสร้างภาษาที่สองในสมองWernicke นอกจากจะสื่อสารไม่ได้แล้วยังส่งผลกระทบต่อการสอนอ่านและเขียนด้วยเทคนิคทักษะภาษาและทักษะการคิด 

ระยะที่ 2 พูดได้(Speech production) หมายถึงนักเรียนสื่อสารภาษาที่สองด้วยความเข้าใจและมั่นใจ กระบวนการทำงานในสมองคือ สมองBroca จากเรียกข้อมูลภาษาคืนจากสมองWernicke ตามสายพานเชื่อม Arcuate facuiculus ส่งภาษาออกไปทางปากโดยมีสมองMotor cortex ช่วยให้กล้ามเนื้อปากและลิ้นเปล่งเสียงชัดเจน ระยะที่สองแบ่งเป็น 3 ขั้น คือขั้นที่ 3 แง้ม (Producing stage) การพูดครั้งแรกนักเรียนจะพูดแบบประโยคคำเดียว คือพูดเฉพาะคำสำคัญ(Telegraphic sentence) เช่นเดียวกับการพูดภาษาแม่ครั้งแรกของเด็กทุกชาติทุกภาษาในโลก เด็กไม่ได้พูดคำเดียวดังที่การสอนภาษาเข้าใจกัน แต่นักเรียนมีความเข้าใจภาษามากกว่าที่พูดได้ ทั้งครูและนักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมสร้างภาษาที่สองได้ราบรื่นขึ้น พร้อมพัฒนาไปสู่การรับ-เรียนภาษาที่สองขั้นต่อไป ขั้นที่ 4 งอก หมายถึงระยะที่ภาษาพัฒนามากขึ้น สามารถพูดประโยคยาวขึ้น 2-3-4 คำ จะมีคำคุณศัพท์ขยายประธาน คำวิเศษณ์ขยายคำกริษยารวมทั้งมีสันธานแบบเด็กเชื่อมประโยค ทำให้การสื่อสารภาษาที่สองมีความชัดเจน ถูกต้องและสร้างสรรค์ พร้อมที่จะพัฒนาภาษาที่สองขั้นต่อไป ขั้นที่ 5 งาม หมายถึงนักเรียนพัฒนาภาษามากขึ้น กล่าวคือสามารถสร้างภาษา(Generate) โดยนำคำที่นักเรียนเข้าใจออกมาใช้สื่อสารอธิบายความคิดของตนที่ตนเข้าใจและให้ผู้อื่นเข้าใจ เพราะนักเรียนยังไม่รู้จักคำเฉพาะที่ใช้เรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เช่นเด็กชายยศพล แข่งเพ็ญแขเมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ 5 เดือน เรียนรู้และมีมโนทัศน์ว่าธงชาติไทยและธงอื่นๆมีหลายขนาดมีหลายสี ธงมีทั้งเก่าและใหม่ ธงอยู่บนยอดเสาธงและเวลาเย็นจะเก็บ แต่เมื่อเห็นเสื้อคอกลม ผ้าพันคอ หมวก พิมพ์ภาพธงชาติไทย เขาสงสัยแล้วถามว่าธงอะไร ขณะที่ผู้ใหญ่กำลังคิดคำอธิบาย เด็กชายยศพลพูดว่าอ๋อ ธงชาติไทยแปลงร่าง หรือเมื่อเห็นเครื่องไหว้เจ้าที่ซึ่งจัดใต้ต้นกล้วย เขาสงสัยแล้วถามว่าอะไร ขณะที่ผู้ใหญ่กำลังคิดคำอธิบาย เขาพูดว่าอ๋อไหว้พระต้นกล้วย เนื่องจากความคิดของเด็กวัยนี้กำลังพัฒนาขั้นรูปธรรมและภาษากำลังพัฒนามาก ถ้าผู้ใหญ่บอกว่าไหว้เจ้าที่ เขาก็จะพูดว่าขอจับเจ้าที่ ขณะที่ผู้ใหญ่ยังคิดคำอธิบายที่เป็นรูปธรรมไม่ได้ เขาคิดสร้างคำ(Generatep)ให้ตนเองเข้าใจและให้ผู้อื่นเข้าใจได้ทันที โดยนำคำหรือภาษาที่เขาเข้าใจความหมายแล้วมาอธิบายอีกเหตุการณ์หนึ่งได้ ระยะที่ 2 การเตรียมความพร้อมในการอ่าน-เขียน(Pre-reading) 

ระยะที่ 3 การสร้างทักษะภาษาและทักษะการคิด(During-reading) และ

ระยะที่ 4 การสร้างทักษะการเขียน(Post reading) ใช้เทคนิคการสอนคล้ายวิธีสอนภาษาแม่ ดังที่อธิบายในข้อ 1.2 ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา เนื่องจากนักเรียนมีทักษะภาษาที่สองในสมอง Wernicke ระดับหนึ่ง ความแตกต่างมี 3 ประการคือ(1) ครูจะต้องใช้ภาษาที่สองสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวกและทำกิจกรรมการเรียนการสอนให้มากที่สุด ใช้ประโยคหลักเสมอเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจภาษาที่สองที่ครูสื่อสาร (2) กิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องเชื่อมโยงกับความเข้าใจภาษาที่อยู่ในสมอง Wernicke ของนักเรียนหรือความรู้เดิมของนักเรียน กิจกรรมการเรียนการสอนต้องมีคุณภาพและต่อกันเป็นกระบวน (Scaffold) เพิ่มความท้าทายทีละน้อย ไม่กระโดดไปกระโดดมาทำให้นักเรียนสับสน เข้าใจยากและ (3)เวลา(Time) สำหรับทำกิจกรรมการรับ/เรียนภาษาที่สองแต่ละกิจกรรมต้องเหมาะสม ไม่เร่งรัดหรือใช้เวลามากเกินไป เพราะจะทำให้นักเรียนเบื่อ ดังนั้นการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองและภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง รวมทั้งภาษาต่อๆไปที่จะเรียนเช่นภาษากลุ่มประเทศอาเซียนจะต้องยึดทฤษฎีการรับภาษาที่สองของสมองจึงจะประสบผลดีในการเรียนภาษาตามจุดหมาย 

1.6 ทฤษฎีจิตวิทยาสาขามนุษย์นิยม (Humanistic Psychology) 

หรือทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาบุคลิกภาพเน้นการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้นที่ขาดไม่ได้ A.H.Maslow เป็นผู้นำ ให้ความรู้ว่าบุคลิกภาพตนจริง-สัจธรรมคือเป้าหมายสูงสุด ของการพัฒนาทรัพยากรคน หมายถึงบุคคลประพฤติตนด้วยคุณธรรมอยู่ในสภาวะที่เข้าใจตน เข้าใจชีวิต เข้าใจความจริงของชีวิตที่ไม่มีอะไรแน่นอนไม่ติดยึดทุกอย่างเป็นสัจธรรม Maslowให้หลักการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมในบุคลิกภาพด้วยการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้นของชีวิต ที่ขาดไม่ได้ กล่าวคือขณะที่ร่างกายเจริญเติบโตขึ้นมนุษย์เราพัฒนาบุคลิกภาพตามลำดับ 5ขั้นจากต่ำสุดไปสูงสุด ความต้องการขั้นที่ 1 เป็นความต้องการขั้นต่ำสุดเป็นพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อการมีชีวิตอยู่รอด เป็นต้องการด้านสรีระปัจจัย 4 เงิน เพศ เมื่อได้รับการตอบสนองจะขยับขึ้นสู่ ความต้องการขั้นที่ 2 คือความต้องการความปลอดภัยของชีวิตและปราศจากความรุนแรง จากความต้องการพื้นฐาน จะนำเข้าสู่ความต้องการค่านิยมพื้นฐานที่มนุษย์ขาดไม่ได้ คือความต้องการขั้นที่ 3 และ 4 ความรักและความภูมิใจในความมีค่าของตน เมื่อได้รับการเติมเต็มจะสร้างพลังจิตใจที่เข้มแข็งเชื่อมั่นในตน เห็นตนมีค่า ริเริ่มคิดประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามเข้าสู่คุณธรรมด้วยตนของตน จิตใจเจริญเติบโตมีคุณธรรมมีความรับผิดชอบเกิดขึ้นในบุคลิกภาพ ทำให้ประสบความสำเร็จทั้งการดำเนินชีวิต อาชีพและสังคม ความต้องการความรักและศักดิ์ศรีขั้นที่ 3 และ 4 จะช่วยให้บุคคลพัฒนาตนเองเข้าสู่ขั้นที่ 5 คือการแสวงหาคุณธรรมซึ่งเป็นค่านิยมของทรัพยากรมนุษย์ (Bing Value /B Value) Maslow กล่าวว่าเด็กที่สร้างสารพัดปัญหา ขาดความรับผิดชอบ ขาดวินัยขาด คุณธรรมและขาดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรในตน เพราะไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นที่ 3 และ 4 คือความรักและความภูมิใจในความมีค่าของตน ยิ่งขาดมากเท่าใดก็ยิ่งสร้างปัญหามากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะถ้าเด็กไม่ได้รับความรักและความภูมิใจเป็นพิเศษในช่วงอายุ 3- 9 ปี จะไม่รักไม่ภูมิใจในตนให้ความรักใครไม่เป็น เสียสละตนก็ไม่ได้ย่อมยากที่จะปลูกฝังคุณธรรม ความรักความภูมิใจทางจิตวิทยาสาขามนุษย์นิยมหมายถึงการรับฟังตอบรับการฟังเสริมแรงให้กำลังใจด้วยการสื่อสารทางบวกที่มีประสิทธิผลทักษะฟังใจ คำพูดทางบวกจะมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของสมอง 3 ประการคือ (1)กระตุ้นให้ระบบสมองส่วนกลางหลังสารสุขเอนโดโดฟีนและเซโรโทรนินส่งไปทั่วร่างกายทำให้สมองเปิดรับการเรียนรู้ทางวิชาการและจริยธรรม การเรียนรู้ราบรื่นและมีประสิทธิผล (2) คำพูดทางบวกสร้างพลังจิตใจที่เข้มแข็ง เชื่อมั่นริเริ่มคิดประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามเข้าสู่คุณธรรมด้วยตน และ (3) คำพูดทางบวกสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนแจ่มใสมีชีวิตชีวาและเป็นมิตร สังคมชั้นเรียนมีความสงบสันติ ตรงจุดนี้เอง ระบบการสอนจึงนำความต้องการขั้นที่ 3 และ 4 คือความรัก ความภูมิใจในความมีค่าของตน มาพัฒนาเป็นการสื่อสารทางบวกที่มีประสิิทธิผล ทักษะฟังใจ ซึ่ง Dr. Thomas Gordon ได้ศึกษาวิจัยกลยุทธการสื่อสารทางบวก ทักษะฟังใจในครอบครัว ในโรงเรียน และในองค์กร มืชื่อเสียงระดับนานาชาติ ดังนั้น ครูจึงต้องสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวกกับนักเรียนขณะสอน ซืึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10% ในทางตรงข้ามการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางลบใช้อำนาจและความรุนแรง จะเกิดผลเสีย 3 ประการ (1) กระตุ้นให้สมองหลั่งสารทุกข์คอร์ติโซลและอาดรีนาลีนส่งไปทั่วร่างกายทำให้สมองปิดรับการเรียนรู้ทั้งมวลใช้วิธีอะไรก็ไม่ได้ผล (2) สร้างจิต-พฤติกรรมทางลบโกรธแค้น ดื้อ ต่อต้านไม่สนใจการเรียนรวมหัวตั้งแก๊งค์สู้กลับ หรือขลาดกลัว ยอมตาม ประจบเอาใจและ (3) ทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนตึงเครียด หวาดกลัวไม่ปลอดภัย คนต่างอยู่ตัวใครตัวมัน ดังนั้นครูจึงต้องสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวกกับนักเรียนและบริหารชั้นเรียนทางบวกสันติวิธี การศึกษาวิจัยตั้งแต่พ.ศ. 2522-พ.ศ. 2555 สรุปตรงกันว่าครูสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางลบใช้อำนาจความรุนแรงในการบริหารจัดการความขัดแย้งและปัญหาระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน 

ดังนั้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 ถึงปัจจุบันสพอ/สปช อาจารย์นงเยาว์ แข่งเพ็ญแข ดร.ชวลิตโพธินครและอาจารย์พัชรา ประวาลพิทย์และคณะ จึงวิจัยและพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวก การบริหารชั้นเรียนทางบวกสันติวิธีและการปรับปรุงโครงสร้างสังคมนักเรียน/โรงเรียนสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียน จำนวน 3 เรื่อง กล่าวคือปีพ.ศ. 2542 ศึกษาวิจัยเรื่องรูปแบบการเสริมพลังจิตใจคุณธรรมจริยธรรมเยาวชนตามทฤษฎีจิตวิทยาสาขามนุษย์นิยม จัดทำคู่มือครูกลยุทธ์การเสริมพลังจิตใจสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวกลดการใช้ความรุนแรง 10 กลยุทธ์ ได้รับทุนที่สนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานพิทักษ์สิทธิเด็กเยาวชนและผู้สูงอายุ(สท.) ได้พิมพ์ครูฉบับนี้เผยแพร่ 3 ครั้ง ปีพ.ศ. 2548 ศึกษาวิจัยรูปแบบการสร้างค่านิยมสันติวิธีร่วมกับจริยธรรมในระบบการสอน ศึกษาการใช้กลยุทธ์สันติวิธี การร่วมเจรจาจัดการความขัดแย้งและปัญหาระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน กลยุทธ์สันติวิธีหมายถึงการร่วมเจรจาหาทางออกแก้ไข ความขัดแย้งและปัญหา ทุกฝ่ายจะได้สิ่งที่ต้องการแต่ไม่ใช่ 100% ความต้องการบางอย่างอาจถูกปฏิเสธ ซึ่งจะดีกว่าขัดแยังกันต่อไปและไม่มีใครได้อะไรเลย มีแต่ความสูญเสียทั้งสองฝ่าย และกลยุทธ์ครูเป็นคนกลางทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีคิดหาทางแก้ปัญหา ครูเลิกทำตัวเป็นอัยการและผู้พิพากษาเดิมๆที่เคยชิน นักเรียนเสนอคำพูดทางบวก 40 คำพูดที่ต้องการให้ครูพูดพวกเขา และคำพูดทางลบ 80 คำพูดที่นักเรียนไม่ต้องการให้คูรใช้พูดกับพวกเขา คำพูดทางลบ 80 คำพูดที่นักเรียนไม่ต้องการให้ครูใช้สื่อสารกับพวกเขา ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า ปีพ.ศ. 2553 ได้เรียบเรียงคู่มือสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนจำนวน 2 เล่ม

1.7 องค์ความรู้เรื่องสันติวิธี: การบริหารชั้นเรียนทางบวกสันติวิธี

ศึกษาวิจัยตั้งแต่พ.ศ. 2522- 2555 เรื่องพฤติกรรมการสื่อสารปฏิสัมพันธ์และการบริหารจัดการความขัดแย้งและปัญหาในโรงเรียนของหน่วยงานต่างๆสรุปตรงกันว่าความรุนแรงในโรงเรียนมี 2 แบบ คือความรุนแรงระหว่างครูกับนักเรียนและความรุนแรงระหว่างนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน มีการใช้ความรุนแรงแบบใหม่ อายุนักเรียนที่ใช้ความรุนแรงน้อยลงและหลายๆครั้งความรุนแรงถึงขั้นอาชญากรรมครูร้อยละ 75.5 มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องว่าการใช้ความรุนแรงลงโทษทางกายเพราะเป็นวิธีการสอนให้เด็กเป็นคนดีมีวินัย ด้วยเหตุนี้ศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ จึงกล่าวว่าความรุนแรงในโรงเรียนเป็นความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมและความรุนแรงทางสังคม เป็นมูลเหตุความรุนแรงทุกชนิดในสังคมไทยและเป็นการปิดกั้นไม่ให้ตั้งคำถาม เพราะความรุนแรงเป็นวิธีสอน ประการสำคัญการที่ครูใช้ความรุนแรงกับนักเรียนเป็นการสอนเด็กแบบตรงและตอกย้ำว่าการแก้ปัญหาความขัดแย้งมีทางเดียวเท่านั้นคือการใช้ความรุนแรงลงโทษ นักเรียนก็มองไม่เห็นทางเลือกอื่นใดที่ไม่ใช้ความรุนแรง นักเรียนจะคิดว่าตนถูกเพื่อนรังแกแล้วยังถูกครูลงโทษอีก ตอกย้ำให้นักเรียนใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา เพราะถึงอย่างไรก็ต้องถูกครูลงโทษอยู่ดี ความยุติธรรมไม่มีจริง ผู้ใหญ่พึ่งไม่ได้ จึงเห็นได้ว่าความรุนแรงในโรงเรียนบ่มเพาะให้นักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือขลาดกลัว เติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา จึงเป็นมูลเหตุให้สังคมไทยมีความรุนแรงแทบทุกชนิดและใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา ได้แก่ความรุนแรงทางสังคม ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ความรุนแรงทางสาธารณสุข ความรุนแรงทางการเมือง-การก่อการร้ายและความรุนแรงแบบแยกประเภทเทียม เพียงแต่คิดว่าเขาไม่ใช่พวกของเราก็อาจจะใช้ความรุนแรงทำร้ายได้ เนื่องจากครูขาดความเข้าใจจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นและขาดความเข้าใจเรื่องการจัดการความขัดแย้งและปัญหาด้วยสันติวิธี การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียนเป็นความสามารถเฉพาะตัวของครู ดังนั้นจึงต้องปฏิรูปโครงสร้างสังคมโรงเรียน ศึกษาสังคมวิทยานักเรียน สังคมวิทยาครูและสังคมวิทยาโรงเรียน เนื่องจากผลการวิจัยสรุปตรงกันว่าโรงเรียนมีความรุนแรงและแทบไม่เปลี่ยนแปลงในช่วง 30 ปี ดังกล่าวข้างต้น และดังการวิเคราะห์ของศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ในรายงานวิจัยเรื่องความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย สำนักพิมพ์มติชนพ.ศ. 2553 

โรงเรียนเป็นสังคมรูปแบบหนึ่งที่มีการทับซ้อนกันและสัมพันธ์กันระหว่าง 3 สังคมคือสังคมวิทยานักเรียน สังคมวิทยาครูและสังคมวิทยาโรงเรียน ทุกสังคมความสัมพันธ์ของสมาชิกมีทั้งร่วมมือ แบ่งปัน แข่งขันอย่างมีกติกา ขัดแย้งและขัดแย้งสุดโต่ง ดังนั้นทุกสังคมสมาชิกจึงเห็นชอบที่จะมีกฏเกณฑ์ข้อตกลงของอยู่ร่วมกันเพื่อความมั่นคง ได้แก่การสื่อสารปฏิสัมพันธ์ที่บุคคลยินดีจะปฏิบัติต่อกันคือการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวก รับฟังตอบรับการฟังเสริมแรงให้กำลังใจ ไม่สื่อสารทางลบ ดุ ตำหนิ ประเมิน ประณาม เปรียบเทียบ และเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งสมาชิกยินดีร่วมกันเจรจาหาทางออกที่ทุกคนจะได้สิ่งที่ต้องการแต่ไม่ใช่ 100% ความต้องการบางอย่างอาจถูกปฏิเสธ ย่อมดีกว่าการขัดแย้งกันต่อไป โดยทั้งสองฝ่ายไม่ได้อะไร มีแต่ความสูญเสีย ประการสำคัญขณะครูสอนความขัดแย้งและปัญหาเกิดขึ้นเสมอไม่อาจคาดเดา ดังนั้นจึงต้องนำองค์ความรู้สันติวิธีสำหรับโรงเรียนมาใช้จัดการความขัดแย้งและปัญหาขณะสอนแทนการใช้อำนาจและความรุนแรงแบบเดิมที่เคยชินรวมทั้งปรับปรุงสังคมวิทยานักเรียนครูและโรงเรียน สร้างสรรค์ติดวัฒนธรรมในโรงเรียน สำหรับแนวทางการนำสันติวิธีเข้าสู่ห้องเรียนเบื้องต้นมี 3 ประการคือ (1) ป้องกันการขัดแย้งที่ไม่จำเป็น ได้แก่การวางกฎกติกาชั้นเรียน การเตรียมเครื่องเรียนให้พร้อมและการตั้งผู้ช่วยครูประจำวัน (2) ร่วมเจรจาหาทางแก้ปัญหาของคู่กรณี และ(3) ครูทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยในการแก้ปัญหา ครูไม่รับบทบาทเป็นเจ้าของปัญหาของนักเรียน ให้นักเรียนร่วมคิดหาทางออก เรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี จะมีความยั่งยืนในการจัดการปัญหาความขัดแย้งและปัญหา ครูยุติบทบาทเป็นผู้พิพากษา ในระบบการสอนครูจะใช้เวลาประมาณ 10% ในการบริหารชั้นเรียนทางบวกสันติวิธี 

1.8 ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์สังคมวิทยา (Sociolinguistics) 

ให้ความรู้ว่า ภาษาที่สร้างในสมองจะถูกนำมาใช้ในสังคมเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพทุกสาขา สำหรับด้านการจัดการเรียนการสอนจะนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมแบบเดี่ยว คู่ และกลุ่ม กระตุ้นให้นักเรียนระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดและแสดงออกทางภาษา วิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญเพื่อการนำเสนอ การเรียนแบบกลุ่มจะช่วยกระตุ้นความคิดทางภาษาได้มาก สำหรับกระบวนการมี 6 กระบวนดังนี้

คิดเดี่ยว เพื่อรวบรวมความรู้ ความคิดของตนให้พร้อม มีทุนที่จะแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ
คิดแบบคู่ เพื่อฝึกการรับฟังผู้อื่น การยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง
คิดแบบกลุ่ม เพื่อฝึกการระดมความคิด และทำผลงานแบบกลุ่ม การเป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ของกลุ่ม
คิดและทำงานเดี่ยว จากการเรียนรู้ขั้นที่ 1-3 จะช่วยให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ เพราะได้เรียนรู้มามาก
การนำเสนอผลงาน
การประเมินผลงานตามสภาพที่แท้จริง 

อ้างอิง






อ่านต่อ »

Wednesday, March 28, 2018

เทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี

ระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา
Methodology  of Teaching Language : An Eclectic Methodology Based on Neurolinguistics& Educational Linguistics

อาจารย์นงเยาว์  แข่งเพ็ญแข และคณะ
นักวิชาการอิสระ วุฒิอาสา ข้าราชการบำนาญ


ABSTRACT

The diagnostic and longitudinal evaluation of grades 2 & 4 students indicated that they were poor in the language skills in terms of oral reading, sentence spacing and general comprehension. The simple reason of this was indeed the wrong teaching methods-based entirely on the ‘ Audio-Lingual Habit Theory’.  The teaching activities were mainly focused on oral reading response, word  identification and repetition. It ignored comprehension, speculation and the analysis of content. Therefore our research team has  studied Methodology of Teaching Languag : An Eclectie Methodology Based  on Neurolinguisties & Educational  Linguistics : “ MEBNE ” ( An Approach to Language Acquisition-cum-Moral Instruction : for both Thai and Non-Thai speakers). It is based on Neuroling uistics & Educational Linguistics, and its related disciplines. as well as Dr. Brudhiprabha’s  NRI Approach to SLA/SLL’ (1989, 1991), including Humanistic Psychology. The fundamental fact that language resides in the left hemisphere of the brain-the Broca’s  the Wernickes   Area-is stressed.  Hence this approach emphasized  three stages of  language acquisition’  namely ‘ Silent.  Confusing and Comprehending before  real  speech production.’ Our experiment has shown that it takes a lot of time for children to ‘produce, develop and facilitate their adult-like speech’ in the long run, Reading & Writing are introduced later of of simultaneously little at a time.  The ‘ MEBNE’ is indeed a foolproof technique for both native students who study Thai as their mother tongue  or  of a second language. ‘ Morallnstruction (MI)’ is sdded to the program as its part and parcel. Our research findings revealed that the MEBNE Technique’ was most effective for ‘Grade 2 students.’ As for ‘Grades 3 & 4 ‘ it yielded higher scores than the ‘National Test.’ That is to say, ‘Provided that qualified teachers, relevant syllabi & effective teaching materials are prepared for the program, including sufficient budget allocation for implementing  language policy and planning.’

Everything being equal, this approach is indeed applicable to any ‘SL Education Programs’-no matter whether it is English, Chinese, Japanese, or any other foreign languages being taught in the ‘Multilingual Education Courses’ in Thailand today.


ระเบียบวิธีการสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา

อาจารย์นงเยาว์   แข่งเพ็ญแข

1. ปัญหาวิธีสอนภาษาไทยคืออะไรและผลกระทบกับทรัพยากรมนุษย์

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระภาษาไทยโดยรวมตกต่ำอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีมูลเหตุจากวิธีสอนภาษาไทยที่ไม่สอดคล้องกับหน้าที่และกลไกการรู้คิดการเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์ การสร้างภาษาของสมองกับการมีสัมพันธ์ภาพทางลบระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเต็มไปด้วยความลำบากอยากยิ่ง ประการสำคัญส่งผลกระทบให้เกิดสภาพด้อยประสิทธิภาพทุกระบบทุกระดับ ทั้งระดับบุคคล ระดับสังคม และระดับประเทศชาติ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบสังคมระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง การปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดังรายงานการศึกษาวิจัยทุกสาขาวิชาทั้งด้านพฤติกรรม เยาวชน - ประชาชน ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการปกครองและปรากฏการณ์ที่ประจักษ์บ้านเมือง

ดังนั้นจึงนำเสนอผลการศึกษาวิจัย 2 เรื่องที่แสดงให้เห็นว่าการใช้วิธีสอนภาษาไทย ที่ขาดคุณภาพ หมายถึง ไม่สอดคล้องกับหน้าที่และกลไกลการรู้คิด การเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์ การสร้างภาษาของสมองเพราะเป็นรากของปัญหาผลสัมฤทธิ์สาระภาษาไทยที่ตกต่ำตั้งแต่ชั้นเริ่มเรียนแล้ว เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ย่อมส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระและทั้งระบบการศึกษา  สพฐ(สปช)ต้องการหาคำตอบที่แท้จริงเพราะได้แก้ปัญหาด้านครูเพิ่มวุฒิค่าตอบแทนด้วยนักเรียนตจัดให้เรียนระดับอนุบาลศึกษาและอุดหนุนรายหัวเรื่องสื่ออุปกรณ์การเรียนแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จจึงประเมินแบบใหม่ คือประเมินระยะยาวประชากรนักเรียนชั้น ป.2 ทุกคน จำนวน 690,000 คน เพื่อศึกษาปัญหาที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตกต่ำและการประเมินแบบสุ่มตัวอย่างถูกวิพากย์ว่า อาจไม่ยุติธรรมกับบางจังหวัด การประเมินครั้งแรก เมื่อปีการศึกษา 2541 กับนักเรียนป.2 ทุกคน ประเมินทักษะภาษาไทยทุกทักษะ เฉพาะทักษะการอ่านจับใจความ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญสำหรับการคิดวิเคราะห์คะแนนเต็ม 12 คะแนน ผลการประเมินนักเรียนได้คะแนนระดับดี พอใช้และปรับปรุงร้อยละ 17.00, 37.63 และ 45.63 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า วิธีสอนภาษาไทยที่ขาดคุณภาพคือ ต้นเหตุปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตกต่ำเพราะทำให้นักเรียนชั้นป.2 จำนวนมากถือร้อยละ 45.36 มีผลการเรียนต้องปรับปรุงหรือต้องเรียนใหม่ตั้งแต่ชั้นเริ่มเรียนแล้ว ทั้งๆ นี้นักเรียนชั้นป.2 มากกว่าร้อยละ 90 ได้รับการเตรียมความพร้อมการเรียนระดับอนุบาลศึกษา 2 ปี ตามหลักวิชาการอ่านกล่าวว่า “การอ่านแล้วไม่รู้เรื่องไม่ถือว่าอ่าน ได้แต่เอาสายตาลบไปตามตัวอักษรเท่านั้น”  เด็กป.2 กลุ่มต้องปรับปรุงนี้ต้องเรียนใหม่ การเรียนเต็มไปด้วยความลำบากยิ่ง และน่าเศร้าใจมากเพราะพวกเขาต้องรู้รสความผิดหวังความทุกข์ตั้งแต่เริ่มเรียนและยังเยาว์วัย  อันเกิดจากการกระทำของผู้อื่นและระบบการศึกษา ชีวิตในโรงเรียนอับเฉา นักเรียนชุดนี้เรียนชั้น ป.3 และ ป.4 จึงประเมินครั้งที่ 2 ปี 2543 กับสาระภาษาไทยทุกทักษะ เฉพาะทักษะการอ่านจับใจความ คะแนนเต็ม 20 คะแนน ผลการประเมินพบว่านักเรียนได้คะแนนระดับดี, ปานกลาง, พอใช้และ ปรับปรุง ร้อยละ 11.05,21.26,29.34 และ 38.34 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าผลการเรียนภาษาไทยแต่ละกลุ่มลดลงจากผลการสอบชั้น ป.2 และเกิดกลุ่มใหม่คือกลุ่มพอใช้ นักเรียน ป.2 กลุ่มดีร้อยละ 17.00 เมื่อเรียนสูงขึ้นคือชั้น ป.4 ก็ลดลง เหลือร้อยละ11.05 กลุ่มปานกลางเมื่อเรียนชั้น ป.2 มีร้อยละ 37.63 เมื่อเรียนชั้น ป.4 ลดเหลือร้อยละ 21.26 เกิดกลุ่มใหม่คือกลุ่มพอใช้มีร้อยละ 29.34 หรือมากกว่า 1 ใน 4 ของนักเรียนชั้นป.4 ซึ่งมาจากชั้น ป.2 กลุ่มพอใช้และกลุ่มปรับปรุงที่พัฒนาขึ้นจากการสอนซ่อมเสริม นักเรียนป.2 กลุ่มปรับปรุงที่มีร้อยละ 45.36 ลดลงเหลือร้อยละ 38.34 เมื่อเรียนชั้น ป.4 สรุปคือ นักเรียนชั้นป.4 จำนวน 690,000คน กลุ่มปรับปรุงมีถึงร้อยละหรือ 1ใน 3ของนักเรียนทั้งหมด มีผลการเรียนภาษาระดับดีกับปานกลางร้อยละ 37.31 (11.05 + 21.26 %)หรือ 1 ใน 3 ของนักเรียน 690,000คน เท่าๆ กับกลุ่มปรับปรุง ส่วนกลุ่มพอใช้มีร้อยละ 29.34 หรือมากกว่า 1 ใน 4ของนักเรียนทั้งหมด หรือ นักเรียนป.4 มีทักษะภาษาที่น่าพอใจประมาณ 1 ใน 3 ต้องปรับปรุง 1 ใน 3 และพอใช้มากกว่า 1 ใน 4 (เอกสารสนม.ปี54/2545)

ผลการประเมินระยะยาวนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการใช้วิธีสอนภาษาไทยที่ขาดคุณภาพเป็นรากของปัญหาที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตกต่ำที่ยาวนาน วิธีสอนที่ขาดคุณภาพคือ วิธีการสอนที่เชื่อว่าภาษาอยู่ที่ปาก ทฤษฏีพฤติกรรมทางภาษา วิธีสอนแบบสร้างนิสัย (The Audio Language Habit theory : The Habit Formation  Approach) โดยครูจะพูด อ่านคำ-ประโยคและความหมาย ส่วนนักเรียนจะพูด อ่านตาม ฝึกซ้ำๆ ซากๆ ทำแบบฝึกต่างๆ จนจำได้ ทำให้นักเรียนมีพัฒนาทางภาษาที่จำกัด ทั้งทักษะการคิดและการทักษะภาษากับมีทัศนคติทางลบต่อการเรียนมีความพยายามแก้ปัญหาด้วยการใช้กิจกรรมที่สนุก เพลง เกม สื่อต่างๆ และสื่อไอทีก็มิได้ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น เพราะมิได้แก้ที่ต้นเหตุคือใช้วิธีการสอนที่ผิดทฤษฏี เมื่อแก้ปัญหาหลายวิธีแล้วไม่ได้ผล จึงมีแนวคิดที่จะสอนอ่าน-เขียน เบื้องต้นในระดับอนุบาลศึกษา ซึ่งอาจเกิดผลเสียต่อการพัฒนาการคิดของสมองและขัดแย้งกับปรัชญาอนุบาลศึกษาซึ่งยึดองค์ความรู้ประสาทวิทยาที่ให้ความรู้สาขาว่าระบบประสาทและสมองเจริญเติบโตทั้งขนาดและการรู้คิดเรียนรู้ประมาณ 80% ของผู้ใหญ่ปกติในช่วงตั้งแต่ปฏิสนธิ 5/6 ปีโดยประมาณ การอัดวิชาการ เกินการรู้คิด เรียนรู้ของสมอง ส่งผลให้เกิดมีพฤติกรรมถูกเร่งเรียน – เรียนมาก (Hurried Child Syndrome &Over Leaning) ดังการศึกษาของ ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์  ผู้ช่วย ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและรองประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์นำเสนอในที่ประชุมทางวิชาการด้านกุมารแพทย์ปี2552

เรื่องที่ 2 คือการวิจัยวิธีสอนภาษาไทย 3 วิธี เมื่อ พ.ศ.2544 วิธีที่ 1 คือเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรม วิธีที่ 2 คือ วิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา (มปภ.)และวิธีที่ 3 คือวิธีสอนแบบบรูณาการขึ้นอยู่กับความถนัดของครู  สำหรับเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกันจริยธรรม ยึดหลักวิชาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา  ส่วนวิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา(มปภ.) และวิธีสอนแบบบรูณาการยึดความเชื่อว่าภาษาอยู่ที่ปาก ทฤษฏีพฤติกรรมทางภาษา ผลวิจัยสรุปได้ว่าระยะยาวคือชั้น ป.2 เทคนิคการสอนแบบรับภาษามีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าวิธีการสอนแบบบรูณาการและ มปภ.ตามลำดับ คือ 71.36,66.29,และ 60.2การศึกษาชั้น ป.3 และ ป.4 เปรียบเทียบกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ วิชาภาษาไทยระดับชาติ NT พบว่า เทคนิคการสอนแบบรับภาษามีคะแนนเฉลี่ยต่างกับคะแนนผลประเมินระดับชาติชั้น ป.3 และ ป.4 ร้อยละ 7.97 และ  6.70 ตามลำดับ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของเทคนิคการสอนแบบรับภาษา ยึดหลักวิชาภาษาศาสตร์ประสานวิทยาและมีผลวิจัยรองรับ ดังนั้น สพฐ (สปช)  จึงพิมพ์ตำราคู่มือครูเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรม สำหรับนักเรียนที่เรียนภาษาไทย เป็นภาษาแม่และภาษาที่สองจำนวน 40,000 เล่มแจกจ่ายให้แก่หน่วยงานในสังกัดทุกระดับ แต่ระบบการศึกษาไทย ก็ไม่เข้าใจยังใช้วิธีสอนแบบเดิมต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง สรุปอีกครั้งหนึ่งวิธีสอนภาษาไทยที่ขาดคุณภาพ คือมูลเหตุผลสัมฤทธิ์การเรียนที่ตกต่ำ 

การใช้วิธีสอนภาษาไทยนี้ขาดคุณภาพได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนาทรัพยากรคนของประเทศ คือบ่มเพาะนักเรียนให้เติบโตเป็นเยาวชนและประชาชนที่ด้อยประสิทธิภาพ 4 ด้านสำคัญ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ทั้งระดับบุคคล ระดับระบบสังคม ระบบเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ดังต่อไปนี้

1.) สติปัญญา (IQ) กระทรวงสาธารณสุขสำรวจสติปัญญาเด็กไทยช่วงปี 2542-2554 สรุปได้ว่าเด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ยต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ 100 จุด และในช่วง 10 ปี ไอคิวเด็กไทยแทบไม่มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นและยังขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวอีกด้วย กล่าวคือการวัดไอคิวปี 2542 มีค่าเฉลี่ย 91.96 มีเพียง 67.60% ที่มีไอคิวสมวัยทุกด้าน และ  17% สงสัยจะล่าช้า เด็กในเขตเทศบาลกับเด็กในชนบทมีไอคิวเฉลี่ย 96.48 กับ  87.80 ผลการวัดปี 2544 เด็กกลุ่มอายุ 6-12 ปี และอายุ 11-18 ปี มีไอคิวเฉลี่ย 91.2 และ 87.80 ตามลำดับ การวัดไอคิวปี 2553 กลุ่มอายุ 3-5 ปี มีไอคิวเฉลี่ย 110.67 แต่ไอคิวกลุ่มอายุ 6-11 ปี ลดลงเหลือ 97.31 ปี 2554 พบว่าไอคิวเฉลี่ยเด็กไทยทั่วประเทศ 98.59 เด็กกลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งร้อยละ 48.50 มีไอคิวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และมีกลุ่มที่มีสติปัญญาบกพร่องคือน้อยกว่า 70 จุดถึงร้อยละ 6.50 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากลไม่ควรเกิน 2% สำหรับการประเมินระดับนานชาติ 192 ประเทศ พบว่าเด็กไทยมีค่าเฉลี่ยไอคิวที่ 91 เป็นลำดับที่ 53 อยู่ระดับเดียวกับบรูไนและพม่า ต่ำกว่าไอคิวเฉลี่ยเด็กในทวีปเอเชียซึ่งอยู่ในกลุ่มไอคิวสูงในการประเมินครั้งนี้คือฮ่องกงและสิงคโปร์มีระดับไอคิวเฉลี่ยที่ 108 จุด เกาเหนือ-เกาหลีใต้มีระดับไอคิวเฉลี่ย 106 จุด ญี่ปุ่น จีนอยู่ที่ 105 จุด อิตาลีที่ 102 จุด ไอซ์แลนด์และมองโกเลียรวมทั้งสวิสเซอร์แลนด์ที่ 101 จุด (ข้อมูลจากหนังสือ Lynn ปี 2006 ไทยรัฐ 10 ธันวาคม  2553) พัฒนาการด้านสติปัญญาที่ล่าช้าของเด็กวัยเรียนจะให้การเรียนรู้เต็มไปด้วยความลำบากยากยิ่ง รับรู้ช้า คิดช้า ทำให้เบื่อหน่ายการเรียน ส่วนผู้ใหญ่ที่สติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้เป็นประชาชนด้อยด้วยประสิทธิภาพ คิดไม่เป็นคิดช้า วิเคราะห์ไม่ได้ เชื่อง่ายถูกชักจูงง่าย จะใช้กำลังกาย อาวุธแก้ปัญหา ปรับตัวยาก ไม่เข้าใจความคิดเหตุผลเชิงนามธรรมจึงยึดประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม

2.) เหตุผลเชิงจริยธรรมหรือสติปัญญาเชิงจริยธรรม (MR/MQ) ที่ตกต่ำต่อเนื่องยาวนาน การวิจัยระยะยาวแสดงว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นรูปธรรมหรือขั้นต่ำ มีเพียงส่วนน้อยใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นนามธรรมหรือขั้นสูงและแทบไม่เปลี่ยนแปลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือ การวิจัยเหตุผลเชิงจริยธรรมเยาวชนกับนักเรียนในกรุงเทพฯ ชั้นป.6 อายุ 11 -12 ปี มัธยมนักศึกษาหาวิทยาลัยอายุ 18-25 ปี กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 26-65 ปี และนักเรียนอาชีวศึกษาต่างจังหวัดอายุ 15 ปี ผลวิจัยได้ข้อค้นพบที่สำคัญ คือกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 70-94 ใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นรูปธรรมหรือขั้นต่ำระดับ 3 กับ 2 และหยุดชะงัก  ระดับ 3 หมายถึงยึดหลักการทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ คือ ผู้มีอำนาจมีบุญคุณผู้อุปถัมภ์เหตุผลเชิงจริยธรรมระดับ 2 หมายถึงยึดหลักการแสวงหาผลประโยชน์สิ่งตอบแทนที่เป็นเงิน วัตถุ ความก้าวหน้า ความสะดวก สำหรับหยุดชะงักหมายถึงแม้บุคคลจะได้รับการศึกษาสูงระดับมหาวิทยาลัย หรือมีประสบการณ์มีอายุมากถึง 65 ปีก็ไม่เรียนรู้ ไม่พัฒนา เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นรูปธรรมหรือขั้นต่ำระดับ 2 และ 3 เป็นรากของปัญหาของจิต – พฤติกรรมเห็นแก่ตัว ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่จะทุจริตคอรัปชั่นต่อหน้าที่และการงานทุกทาง การวิจัยยังพบว่าถ้าสติปัญญาหรือไอคิวของบุคคลต่ำจริยธรรมจะพัฒนาไปสู่ระดับสูงไม่ได้ เมื่อผลการวัดไอคิวคนไทยมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานสากลที่สำรวจดังที่กล่าวข้างต้นช่วงปี พ.ศ.2542-2554 จึงอนุมานได้ว่าผู้ใหญ่ไทยใช้พัฒนาการด้านจริยธรรมขั้นรูปธรรมหรือขั้นต่ำมักจะใช้กำลังกาย ความรุนแรง อาวุธจัดการความขัดแย้งและปัญหา ส่วนผู้ที่ใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นนามธรรมหรือขั้นสูงจะใช้การเจรจา สันติวิธี ผลวิจัยยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนน้อยใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นนามธรรมหรือขั้นสูง หมายถึง มีความสามารถคิดเชิงระบบคือยึดประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน มีความรับผิดชอบ เคารพกฎระเบียบ กฎหมายใช้สันติวิธีการเจรจาแก้ปัญหาความขัดแย้ง ปฏิบัติตามหลักศาสนา มีความละอายเมื่อทำไม่ดีและภูมิใจเมื่อทำดี พัฒนาการด้านเหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นรูปธรรมหรือขั้นต่ำขั้นที่ 2-3 จะพัฒนาในช่วงอายุ 7-10 ปี สำหรับเหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นนามธรรมหรือขั้นสูงจะเริ่มพัฒนาเมื่ออายุ 11 ปี และจะสมบูรณ์เต็มที่เมื่ออายุ 16 ปี ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นและสำคัญของพลเมืองที่มีคุณภาพสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย จะเห็นได้ว่าผลกระทบการใช้วิธีสอนของภาษาไทยที่ขาดคุณภาพ ส่งผลให้พัฒนาด้านจริยธรรมเพียงขั้นต่ำ หรือขั้นรูปธรรมและหยุดชะงักสร้างพฤติกรรมปัญหาแกตนเองและสังคม คือ เห็นแก่ตัว ขาดความรับผิดชอบตนและสังคม ทุจริตต่อหน้าที่การงาน ( สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ 2520-2533 : ศ.ดร.จรรจา สุวรรณฑัต และคณะชุดวิจัยจริยธรรมของเยาวชนไทย สังเคราะห์จากผลวิจัย 4 เรื่อง พ.ศ.2535 หน้า 7-8 )

3.) ทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน เพื่อพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิต การประเมินระยะยาวข้างต้น ที่พบว่า มีนักเรียนกลุ่มปรับปรุงและกลุ่มพอใช้รวมกันมาแล้ว มากถึง 2 ใน 3 ของประชากรนักเรียน ป.4 พวกเขาย่อมมีทัศนคติทางลบต่อการอ่าน มีผลวิจัยที่เผยแพร่ทั่วไป วาคนไทยอ่านหนังสือปีละ 5-8 เล่ม ขณะที่เวียดนามและสิงคโปร์ อ่านหนังสือปีละ 50-60 เล่ม

4.) การใช้วิธีการสอนภาษาไทยที่ขาดคุณภาพส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียน ผลวิจัยพบว่า นักเรียนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน เบื่อครู เคยหนีเรียน อยากลาออกไปหางานทำ มีความเครียด เคยคิดฆ่าตัวตาย (สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2554 . สำรวจสถานการณ์ทางสังคมของเด็กเยาวชนกทม.) ส่วนการวิจัยของ สกศ เรื่องการออกกลางคัน  นักเรียนชั้น ป.1-ม.6 ปีการศึกษา 2541-2551 พบว่า การออกกลางคืนค่อนข้างสูงถึง 42.28% มีหลายสาเหตุ และผลการเรียนอ่อนก็เป็นสาเหตุหนึ่งด้วย (http:.www.moe.go.th)

2.ระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา
(เทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี)

จากสภาพปัญหาวิธีการสอนภาษาไทย ดังกล่าวในข้อที่ 1 คณะนักวิชาการศึกษา สพฐ. (สปช) จึงดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาเชิงระบบวิธีสอนภาษาไทยที่มีคุณภาพ ทั้งภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษาไทยเป็นภาษาที่สองตั้งแต่ระดับอนุบาลศึกษา – ประถมศึกษาตั้งแต่ พ.ศ.2530-ปัจจุบัน โดยมี ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ และ รศ.ดร.ประพาศน์ พฤทธิ์ประภา เป็นผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาวิจัย

ศาสตร์อันเป็นที่มาของระเบียบวิธีการสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา

ระเบียบวิธีการสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษายึดศาสตร์หรือหลักวิชา 7 สาขา คือ (1) ศาสตร์สาขาประสาทวิทยาศาสตร์ (2) ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา (3) ศาสตร์สาขาสัทธศาสตร์และภาษาศาสตร์ (4) ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์จิตวิทยาปริชาน (5) ทฤษฎีการรับภาษาที่สอง (6) ทฤษฎีจิตวิทยาสาขามนุษย์นิยม และ(7) ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์สังคมวิทยา ซึ่งมีคำอธิบายโดยย่อ ดังนี้

1.) ศาสตร์สาขาประสาทวิทยาศาสตร์ (Neurosciences) ให้ความรู้ว่าระบบประสาทและสมองเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย แต่ทำหน้าที่พิเศษต่างจากวัยอื่น คือทำหน้าที่ส่งเสริมและควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของอวัยวะทุกระบบทุกส่วนของร่างกาย สมองทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ควบคุมจิตใจ – ความรู้สึกและพฤติกรรมตลอดชีวิต และประการสำคัญที่สุดคือระบบประสาทและสมองทำหน้าที่เรื่องการรับรู้ การคิดหลายลักษณะหลายมิติ การเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์และการสร้างภาษาทั้งแม่ภาษาแม่ภาษาที่สองและภาษาต่อๆไปที่มนุษย์เรียน การเก็บบันทึกสะสมความเข้าใจในรูปของภาษาที่สมองซีกซ้ายส่วนล่างบริเวณ Wernicke’s area และสมอง Broeas ‘areaจะทำหน้าที่นำภาษาออกไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ทุกสาขา และด้านวิชาการ ดังนี้การออกแบบวิธีสอนภาษา รวมทั้งกลุ่มสาระต่างๆ จึงต้องสอดคล้องกับหน้าที่และกลไกการรู้คิดการเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์และการสร้างภาษาของสมอง จึงจะทำให้การเรียนรู้ราบรื่น มีทัศนคติที่ดี มีอุปสรรคไม่มากนัก ภาษาที่ใช้อยู่ที่ปาก ดังที่ระบบการศึกษาไทยเข้าใจ

2.) ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา (Neuroliguistics) ให้ความรู้ว่าสมองซีกซ้ายทำหน้าที่รู้คิด เรียนรู้ สร้างมโนทัศน์สร้างภาษา ส่วนสมองซีกขวาทำหน้าที่กระบวนการสังเคราะห์ผลรวมของภาษา สมองที่ทำหน้าที่บันทึกสะสมความเข้าใจของภาษาคือสมอง Wernicke’s area สมองที่ทำหน้าที่เรียกภาษาคืน (Retrieve) และส่งภาษาออกไปสื่อสาร คือสมอง Brocaดังนั้นวิธีสอนภาษาขั้นพูด-ฟัง จะต้องสอดคล้องกับการทำหน้าที่ของสมอง กระบวนการดังกล่าว Vygotsky สรุปให้เห็นชัดเจนว่า “Language is added by speech not the reverse” หมายถึงความคิดแสดงออกทางภาษาแต่ไม่เป็นปฏิภาคกัน ดังนั้นวิธีสอนที่มิได้กระตุ้นให้สมองคิดและสร้างภาษาเพราะมีความเชื่อผิดๆ ว่าภาษาอยู่ที่ปากไม่สามารถทำให้นักเรียนคิดเป็น

3.) ศาสตร์สาขาลัทธศาสตร์และภาษาศาสตร์ (Phonetics and Linguistics) ให้ความรู้ว่าโครงสร้างภาษามี 5 ระบบ คือ ระบบเสียง หน่วยคำวากยสัมพันธ์ อรรถศาสตร์และวัจนปฏิบัติศาสตร์ สำหรับวิธีการสอนต้องสอนให้ครบ 3 ระบบแรกจึงจะทำให้นักเรียนพูดได้ โดยเฉพาะวิธีสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองจะสอนเพียง 2 ระบบ แรก คือระบบเสียงกับหน่วยคำ นักเรียนจะสื่อสารไม่ได้ ดังที่เป็นปัญหาตั้งแต่ในอดีต-ปัจจุบัน 

4.) ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์จิตวิทยาปริชาน  (Cognitive Psycolinguistics ) ให้ความรู้ว่าพัฒนาการของนักเรียน 4 ด้านคือ ด้านจิตใจ-ความรู้สึก ด้านสติปัญญา ด้านสังคมและด้านร่างกายของนักเรียนทุกช่วงอายุจะเป็นหลักในการออกแบบกิจกรรมสอนภาษาเช่นนักเรียนวัยเด็กกับวัยรุ่นย่อมจัดกิจกรรมแตกต่างกัน

5.) ทฤษฏีการสอนภาษาที่สอง(Theory of Second Language Acquisition) ให้ความรู้ว่าภาษาแม่ ภาษาที่สองภาษาต่อๆไปมีกระบวนการสร้าง เก็บบันทึกสะสมและนำออกไปใช้สื่อสารเป็นหน้าที่ของสมองบริเวณเดียวกัน ความแตกต่างของการสอนภาษาแม่กับภาษาที่สองอยู่ที่เวลา(Time) สอน แต่ละระยะจะต้องเพียงพอที่จะให้สมองรับเรียนรู้และสร้างภาษาที่สองและกิจกรรมจะต้องมีคุณภาพมีหลายกิจกรรมต่อกัน (scaffold)เป็นกระบวนเพื่อช่วยให้สมองเรียนรู้ราบรื่นและครูต้องสื่อสารภาษาที่สอง

6.) ทฤษฏีจิตวิทยาสาขามนุษย์นิยม ให้ความรู้ว่าความต้องการ 5 ขั้นที่ขาดไม่ได้ เมื่อได้รับการตอบสนองจะทำให้นักเรียนเข้าสู่คุณธรรมจริยธรรมด้วยตน โดยเฉพาะความต้องการที่ขาดไม่ได้ขั้นที่3-4 คือความต้องการความรัก ความภูมิใจในความมีค่าของตน เมื่อครู-พ่อแม่เติมเต็มจะทำให้เขารัก เคารพครู เพราะเด็กๆเรียนได้จากคนที่ตนรักเท่านั้นความรักทำให้อยากทำตามคำสั่งสอนอบรมและตั้งใจเรียน ดังนั้นครูผู้สอนภาษาจึงตอบสนองความต้องการความรักด้วยการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวกที่มีประสิทธิผล คือรับฟัง ตอบรับการฟัง เสริมแนวให้กำลังใจประการสำคัญคำพูดทางลบ ใช้อำนาจความรุนแรงทำให้สมองนักเรียนปิดรับการเรียนรู้ทั้งมวล ใช้สอนวิธีสอนอะไรก็ไม่ได้ผล สำหรับองค์ความรู้เรื่องสันติวิธี เนื่องจากขณะสอนความขัดแย้ง ปัญหาระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียนเกิดขึ้นตลอดเวลาและไม่อาจคาดเดาได้ ดังนั้นครูจึงต้องบริหารจัดการความขัดแย้งและปัญหาด้วยสันติวิธี คือการเจรจาร่วมกันคิดหาทางออก ที่ทุกคนจะได้สิ่งที่ต้องการแต่ไม่ใช่ 100% ความต้องการบางอย่างอาจถูกปฏิเสธ หรือขัดแย้งกันต่อไปแล้วไม่ได้อะไรเลย มีแต่ความสูญเสีย สำหรับความขัดแย้งระหว่างนักเรียนให้ครูเปลี่ยนบทบาทเป็นคนกลาง ให้นักเรียนคู่กรณีคิดหาทางออก ครูไม่ทำตนเป็นอัยการหรือผู้พิพากษาลงโทษนักเรียนแบบเดิมที่เคยชิน การจัดการปัญหาด้านสันติวิธีจะทำให้เด็กๆเรียนรู้ว่าความยุติธรรมมีจริง ผู้ใหญ่พึ่งได้ ส่วนใครที่ทำไม่ดีจะมีผลตามมา และ

7.) ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์สังคมวิทยา (Sociolinguistics) ให้ความรู้ว่าภาษามิใช่สถิตอยู่ในสมองตลอดไป ภาษาจะถูกนำออกไปใช้ในสังคม ออกไปใช้สื่อสาร ประกอบอาชีพทุกสาขา ด้านวิชาการและฐานะทางสังคม มิใช่เก็บไว้ในสมองเฉยๆ ภาษาจึงได้ชื่อว่าเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร การได้สนทนาแลกเปลี่ยนทำให้ได้ทั้งความคิดใหม่ๆและได้เรียนรู้ภาษาใหม่ๆควบคู่กัน ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาจึงต้องให้นักเรียนได้คิดแบบเดียว แบบคู่และแบบกลุ่มกระตุ้นให้ระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดและนำเสนอจะช่วยพัฒนาภาษาอย่างมาก

จากศาสตร์ 7 สาขาดังกล่าวจึงออกแบบระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษาอัตราส่วน 80:10:10 หมายถึงจัดกระบวนการสอนกระตุ้นให้สมองคิดสร้างภาษาประมาณ 80% ของเวลาทำการสอน 1 ชั่วโมง ครูสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวก 10% และบริหารจัดการความขัดแย้งและปัญหาประมาณ 10%
-----------------------------------

อ้างอิง
อ่านต่อ »