Wednesday, March 28, 2018

เทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี

ระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา
Methodology  of Teaching Language : An Eclectic Methodology Based on Neurolinguistics& Educational Linguistics

อาจารย์นงเยาว์  แข่งเพ็ญแข และคณะ
นักวิชาการอิสระ วุฒิอาสา ข้าราชการบำนาญ


ABSTRACT

The diagnostic and longitudinal evaluation of grades 2 & 4 students indicated that they were poor in the language skills in terms of oral reading, sentence spacing and general comprehension. The simple reason of this was indeed the wrong teaching methods-based entirely on the ‘ Audio-Lingual Habit Theory’.  The teaching activities were mainly focused on oral reading response, word  identification and repetition. It ignored comprehension, speculation and the analysis of content. Therefore our research team has  studied Methodology of Teaching Languag : An Eclectie Methodology Based  on Neurolinguisties & Educational  Linguistics : “ MEBNE ” ( An Approach to Language Acquisition-cum-Moral Instruction : for both Thai and Non-Thai speakers). It is based on Neuroling uistics & Educational Linguistics, and its related disciplines. as well as Dr. Brudhiprabha’s  NRI Approach to SLA/SLL’ (1989, 1991), including Humanistic Psychology. The fundamental fact that language resides in the left hemisphere of the brain-the Broca’s  the Wernickes   Area-is stressed.  Hence this approach emphasized  three stages of  language acquisition’  namely ‘ Silent.  Confusing and Comprehending before  real  speech production.’ Our experiment has shown that it takes a lot of time for children to ‘produce, develop and facilitate their adult-like speech’ in the long run, Reading & Writing are introduced later of of simultaneously little at a time.  The ‘ MEBNE’ is indeed a foolproof technique for both native students who study Thai as their mother tongue  or  of a second language. ‘ Morallnstruction (MI)’ is sdded to the program as its part and parcel. Our research findings revealed that the MEBNE Technique’ was most effective for ‘Grade 2 students.’ As for ‘Grades 3 & 4 ‘ it yielded higher scores than the ‘National Test.’ That is to say, ‘Provided that qualified teachers, relevant syllabi & effective teaching materials are prepared for the program, including sufficient budget allocation for implementing  language policy and planning.’

Everything being equal, this approach is indeed applicable to any ‘SL Education Programs’-no matter whether it is English, Chinese, Japanese, or any other foreign languages being taught in the ‘Multilingual Education Courses’ in Thailand today.


ระเบียบวิธีการสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา

อาจารย์นงเยาว์   แข่งเพ็ญแข

1. ปัญหาวิธีสอนภาษาไทยคืออะไรและผลกระทบกับทรัพยากรมนุษย์

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระภาษาไทยโดยรวมตกต่ำอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีมูลเหตุจากวิธีสอนภาษาไทยที่ไม่สอดคล้องกับหน้าที่และกลไกการรู้คิดการเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์ การสร้างภาษาของสมองกับการมีสัมพันธ์ภาพทางลบระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเต็มไปด้วยความลำบากอยากยิ่ง ประการสำคัญส่งผลกระทบให้เกิดสภาพด้อยประสิทธิภาพทุกระบบทุกระดับ ทั้งระดับบุคคล ระดับสังคม และระดับประเทศชาติ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบสังคมระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง การปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดังรายงานการศึกษาวิจัยทุกสาขาวิชาทั้งด้านพฤติกรรม เยาวชน - ประชาชน ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการปกครองและปรากฏการณ์ที่ประจักษ์บ้านเมือง

ดังนั้นจึงนำเสนอผลการศึกษาวิจัย 2 เรื่องที่แสดงให้เห็นว่าการใช้วิธีสอนภาษาไทย ที่ขาดคุณภาพ หมายถึง ไม่สอดคล้องกับหน้าที่และกลไกลการรู้คิด การเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์ การสร้างภาษาของสมองเพราะเป็นรากของปัญหาผลสัมฤทธิ์สาระภาษาไทยที่ตกต่ำตั้งแต่ชั้นเริ่มเรียนแล้ว เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ย่อมส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระและทั้งระบบการศึกษา  สพฐ(สปช)ต้องการหาคำตอบที่แท้จริงเพราะได้แก้ปัญหาด้านครูเพิ่มวุฒิค่าตอบแทนด้วยนักเรียนตจัดให้เรียนระดับอนุบาลศึกษาและอุดหนุนรายหัวเรื่องสื่ออุปกรณ์การเรียนแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จจึงประเมินแบบใหม่ คือประเมินระยะยาวประชากรนักเรียนชั้น ป.2 ทุกคน จำนวน 690,000 คน เพื่อศึกษาปัญหาที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตกต่ำและการประเมินแบบสุ่มตัวอย่างถูกวิพากย์ว่า อาจไม่ยุติธรรมกับบางจังหวัด การประเมินครั้งแรก เมื่อปีการศึกษา 2541 กับนักเรียนป.2 ทุกคน ประเมินทักษะภาษาไทยทุกทักษะ เฉพาะทักษะการอ่านจับใจความ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญสำหรับการคิดวิเคราะห์คะแนนเต็ม 12 คะแนน ผลการประเมินนักเรียนได้คะแนนระดับดี พอใช้และปรับปรุงร้อยละ 17.00, 37.63 และ 45.63 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า วิธีสอนภาษาไทยที่ขาดคุณภาพคือ ต้นเหตุปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตกต่ำเพราะทำให้นักเรียนชั้นป.2 จำนวนมากถือร้อยละ 45.36 มีผลการเรียนต้องปรับปรุงหรือต้องเรียนใหม่ตั้งแต่ชั้นเริ่มเรียนแล้ว ทั้งๆ นี้นักเรียนชั้นป.2 มากกว่าร้อยละ 90 ได้รับการเตรียมความพร้อมการเรียนระดับอนุบาลศึกษา 2 ปี ตามหลักวิชาการอ่านกล่าวว่า “การอ่านแล้วไม่รู้เรื่องไม่ถือว่าอ่าน ได้แต่เอาสายตาลบไปตามตัวอักษรเท่านั้น”  เด็กป.2 กลุ่มต้องปรับปรุงนี้ต้องเรียนใหม่ การเรียนเต็มไปด้วยความลำบากยิ่ง และน่าเศร้าใจมากเพราะพวกเขาต้องรู้รสความผิดหวังความทุกข์ตั้งแต่เริ่มเรียนและยังเยาว์วัย  อันเกิดจากการกระทำของผู้อื่นและระบบการศึกษา ชีวิตในโรงเรียนอับเฉา นักเรียนชุดนี้เรียนชั้น ป.3 และ ป.4 จึงประเมินครั้งที่ 2 ปี 2543 กับสาระภาษาไทยทุกทักษะ เฉพาะทักษะการอ่านจับใจความ คะแนนเต็ม 20 คะแนน ผลการประเมินพบว่านักเรียนได้คะแนนระดับดี, ปานกลาง, พอใช้และ ปรับปรุง ร้อยละ 11.05,21.26,29.34 และ 38.34 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าผลการเรียนภาษาไทยแต่ละกลุ่มลดลงจากผลการสอบชั้น ป.2 และเกิดกลุ่มใหม่คือกลุ่มพอใช้ นักเรียน ป.2 กลุ่มดีร้อยละ 17.00 เมื่อเรียนสูงขึ้นคือชั้น ป.4 ก็ลดลง เหลือร้อยละ11.05 กลุ่มปานกลางเมื่อเรียนชั้น ป.2 มีร้อยละ 37.63 เมื่อเรียนชั้น ป.4 ลดเหลือร้อยละ 21.26 เกิดกลุ่มใหม่คือกลุ่มพอใช้มีร้อยละ 29.34 หรือมากกว่า 1 ใน 4 ของนักเรียนชั้นป.4 ซึ่งมาจากชั้น ป.2 กลุ่มพอใช้และกลุ่มปรับปรุงที่พัฒนาขึ้นจากการสอนซ่อมเสริม นักเรียนป.2 กลุ่มปรับปรุงที่มีร้อยละ 45.36 ลดลงเหลือร้อยละ 38.34 เมื่อเรียนชั้น ป.4 สรุปคือ นักเรียนชั้นป.4 จำนวน 690,000คน กลุ่มปรับปรุงมีถึงร้อยละหรือ 1ใน 3ของนักเรียนทั้งหมด มีผลการเรียนภาษาระดับดีกับปานกลางร้อยละ 37.31 (11.05 + 21.26 %)หรือ 1 ใน 3 ของนักเรียน 690,000คน เท่าๆ กับกลุ่มปรับปรุง ส่วนกลุ่มพอใช้มีร้อยละ 29.34 หรือมากกว่า 1 ใน 4ของนักเรียนทั้งหมด หรือ นักเรียนป.4 มีทักษะภาษาที่น่าพอใจประมาณ 1 ใน 3 ต้องปรับปรุง 1 ใน 3 และพอใช้มากกว่า 1 ใน 4 (เอกสารสนม.ปี54/2545)

ผลการประเมินระยะยาวนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการใช้วิธีสอนภาษาไทยที่ขาดคุณภาพเป็นรากของปัญหาที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตกต่ำที่ยาวนาน วิธีสอนที่ขาดคุณภาพคือ วิธีการสอนที่เชื่อว่าภาษาอยู่ที่ปาก ทฤษฏีพฤติกรรมทางภาษา วิธีสอนแบบสร้างนิสัย (The Audio Language Habit theory : The Habit Formation  Approach) โดยครูจะพูด อ่านคำ-ประโยคและความหมาย ส่วนนักเรียนจะพูด อ่านตาม ฝึกซ้ำๆ ซากๆ ทำแบบฝึกต่างๆ จนจำได้ ทำให้นักเรียนมีพัฒนาทางภาษาที่จำกัด ทั้งทักษะการคิดและการทักษะภาษากับมีทัศนคติทางลบต่อการเรียนมีความพยายามแก้ปัญหาด้วยการใช้กิจกรรมที่สนุก เพลง เกม สื่อต่างๆ และสื่อไอทีก็มิได้ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น เพราะมิได้แก้ที่ต้นเหตุคือใช้วิธีการสอนที่ผิดทฤษฏี เมื่อแก้ปัญหาหลายวิธีแล้วไม่ได้ผล จึงมีแนวคิดที่จะสอนอ่าน-เขียน เบื้องต้นในระดับอนุบาลศึกษา ซึ่งอาจเกิดผลเสียต่อการพัฒนาการคิดของสมองและขัดแย้งกับปรัชญาอนุบาลศึกษาซึ่งยึดองค์ความรู้ประสาทวิทยาที่ให้ความรู้สาขาว่าระบบประสาทและสมองเจริญเติบโตทั้งขนาดและการรู้คิดเรียนรู้ประมาณ 80% ของผู้ใหญ่ปกติในช่วงตั้งแต่ปฏิสนธิ 5/6 ปีโดยประมาณ การอัดวิชาการ เกินการรู้คิด เรียนรู้ของสมอง ส่งผลให้เกิดมีพฤติกรรมถูกเร่งเรียน – เรียนมาก (Hurried Child Syndrome &Over Leaning) ดังการศึกษาของ ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์  ผู้ช่วย ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและรองประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์นำเสนอในที่ประชุมทางวิชาการด้านกุมารแพทย์ปี2552

เรื่องที่ 2 คือการวิจัยวิธีสอนภาษาไทย 3 วิธี เมื่อ พ.ศ.2544 วิธีที่ 1 คือเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรม วิธีที่ 2 คือ วิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา (มปภ.)และวิธีที่ 3 คือวิธีสอนแบบบรูณาการขึ้นอยู่กับความถนัดของครู  สำหรับเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกันจริยธรรม ยึดหลักวิชาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา  ส่วนวิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา(มปภ.) และวิธีสอนแบบบรูณาการยึดความเชื่อว่าภาษาอยู่ที่ปาก ทฤษฏีพฤติกรรมทางภาษา ผลวิจัยสรุปได้ว่าระยะยาวคือชั้น ป.2 เทคนิคการสอนแบบรับภาษามีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าวิธีการสอนแบบบรูณาการและ มปภ.ตามลำดับ คือ 71.36,66.29,และ 60.2การศึกษาชั้น ป.3 และ ป.4 เปรียบเทียบกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ วิชาภาษาไทยระดับชาติ NT พบว่า เทคนิคการสอนแบบรับภาษามีคะแนนเฉลี่ยต่างกับคะแนนผลประเมินระดับชาติชั้น ป.3 และ ป.4 ร้อยละ 7.97 และ  6.70 ตามลำดับ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของเทคนิคการสอนแบบรับภาษา ยึดหลักวิชาภาษาศาสตร์ประสานวิทยาและมีผลวิจัยรองรับ ดังนั้น สพฐ (สปช)  จึงพิมพ์ตำราคู่มือครูเทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรม สำหรับนักเรียนที่เรียนภาษาไทย เป็นภาษาแม่และภาษาที่สองจำนวน 40,000 เล่มแจกจ่ายให้แก่หน่วยงานในสังกัดทุกระดับ แต่ระบบการศึกษาไทย ก็ไม่เข้าใจยังใช้วิธีสอนแบบเดิมต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง สรุปอีกครั้งหนึ่งวิธีสอนภาษาไทยที่ขาดคุณภาพ คือมูลเหตุผลสัมฤทธิ์การเรียนที่ตกต่ำ 

การใช้วิธีสอนภาษาไทยนี้ขาดคุณภาพได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนาทรัพยากรคนของประเทศ คือบ่มเพาะนักเรียนให้เติบโตเป็นเยาวชนและประชาชนที่ด้อยประสิทธิภาพ 4 ด้านสำคัญ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ทั้งระดับบุคคล ระดับระบบสังคม ระบบเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ดังต่อไปนี้

1.) สติปัญญา (IQ) กระทรวงสาธารณสุขสำรวจสติปัญญาเด็กไทยช่วงปี 2542-2554 สรุปได้ว่าเด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ยต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ 100 จุด และในช่วง 10 ปี ไอคิวเด็กไทยแทบไม่มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นและยังขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวอีกด้วย กล่าวคือการวัดไอคิวปี 2542 มีค่าเฉลี่ย 91.96 มีเพียง 67.60% ที่มีไอคิวสมวัยทุกด้าน และ  17% สงสัยจะล่าช้า เด็กในเขตเทศบาลกับเด็กในชนบทมีไอคิวเฉลี่ย 96.48 กับ  87.80 ผลการวัดปี 2544 เด็กกลุ่มอายุ 6-12 ปี และอายุ 11-18 ปี มีไอคิวเฉลี่ย 91.2 และ 87.80 ตามลำดับ การวัดไอคิวปี 2553 กลุ่มอายุ 3-5 ปี มีไอคิวเฉลี่ย 110.67 แต่ไอคิวกลุ่มอายุ 6-11 ปี ลดลงเหลือ 97.31 ปี 2554 พบว่าไอคิวเฉลี่ยเด็กไทยทั่วประเทศ 98.59 เด็กกลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งร้อยละ 48.50 มีไอคิวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และมีกลุ่มที่มีสติปัญญาบกพร่องคือน้อยกว่า 70 จุดถึงร้อยละ 6.50 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากลไม่ควรเกิน 2% สำหรับการประเมินระดับนานชาติ 192 ประเทศ พบว่าเด็กไทยมีค่าเฉลี่ยไอคิวที่ 91 เป็นลำดับที่ 53 อยู่ระดับเดียวกับบรูไนและพม่า ต่ำกว่าไอคิวเฉลี่ยเด็กในทวีปเอเชียซึ่งอยู่ในกลุ่มไอคิวสูงในการประเมินครั้งนี้คือฮ่องกงและสิงคโปร์มีระดับไอคิวเฉลี่ยที่ 108 จุด เกาเหนือ-เกาหลีใต้มีระดับไอคิวเฉลี่ย 106 จุด ญี่ปุ่น จีนอยู่ที่ 105 จุด อิตาลีที่ 102 จุด ไอซ์แลนด์และมองโกเลียรวมทั้งสวิสเซอร์แลนด์ที่ 101 จุด (ข้อมูลจากหนังสือ Lynn ปี 2006 ไทยรัฐ 10 ธันวาคม  2553) พัฒนาการด้านสติปัญญาที่ล่าช้าของเด็กวัยเรียนจะให้การเรียนรู้เต็มไปด้วยความลำบากยากยิ่ง รับรู้ช้า คิดช้า ทำให้เบื่อหน่ายการเรียน ส่วนผู้ใหญ่ที่สติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้เป็นประชาชนด้อยด้วยประสิทธิภาพ คิดไม่เป็นคิดช้า วิเคราะห์ไม่ได้ เชื่อง่ายถูกชักจูงง่าย จะใช้กำลังกาย อาวุธแก้ปัญหา ปรับตัวยาก ไม่เข้าใจความคิดเหตุผลเชิงนามธรรมจึงยึดประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม

2.) เหตุผลเชิงจริยธรรมหรือสติปัญญาเชิงจริยธรรม (MR/MQ) ที่ตกต่ำต่อเนื่องยาวนาน การวิจัยระยะยาวแสดงว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นรูปธรรมหรือขั้นต่ำ มีเพียงส่วนน้อยใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นนามธรรมหรือขั้นสูงและแทบไม่เปลี่ยนแปลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือ การวิจัยเหตุผลเชิงจริยธรรมเยาวชนกับนักเรียนในกรุงเทพฯ ชั้นป.6 อายุ 11 -12 ปี มัธยมนักศึกษาหาวิทยาลัยอายุ 18-25 ปี กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 26-65 ปี และนักเรียนอาชีวศึกษาต่างจังหวัดอายุ 15 ปี ผลวิจัยได้ข้อค้นพบที่สำคัญ คือกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 70-94 ใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นรูปธรรมหรือขั้นต่ำระดับ 3 กับ 2 และหยุดชะงัก  ระดับ 3 หมายถึงยึดหลักการทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ คือ ผู้มีอำนาจมีบุญคุณผู้อุปถัมภ์เหตุผลเชิงจริยธรรมระดับ 2 หมายถึงยึดหลักการแสวงหาผลประโยชน์สิ่งตอบแทนที่เป็นเงิน วัตถุ ความก้าวหน้า ความสะดวก สำหรับหยุดชะงักหมายถึงแม้บุคคลจะได้รับการศึกษาสูงระดับมหาวิทยาลัย หรือมีประสบการณ์มีอายุมากถึง 65 ปีก็ไม่เรียนรู้ ไม่พัฒนา เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นรูปธรรมหรือขั้นต่ำระดับ 2 และ 3 เป็นรากของปัญหาของจิต – พฤติกรรมเห็นแก่ตัว ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่จะทุจริตคอรัปชั่นต่อหน้าที่และการงานทุกทาง การวิจัยยังพบว่าถ้าสติปัญญาหรือไอคิวของบุคคลต่ำจริยธรรมจะพัฒนาไปสู่ระดับสูงไม่ได้ เมื่อผลการวัดไอคิวคนไทยมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานสากลที่สำรวจดังที่กล่าวข้างต้นช่วงปี พ.ศ.2542-2554 จึงอนุมานได้ว่าผู้ใหญ่ไทยใช้พัฒนาการด้านจริยธรรมขั้นรูปธรรมหรือขั้นต่ำมักจะใช้กำลังกาย ความรุนแรง อาวุธจัดการความขัดแย้งและปัญหา ส่วนผู้ที่ใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นนามธรรมหรือขั้นสูงจะใช้การเจรจา สันติวิธี ผลวิจัยยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนน้อยใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นนามธรรมหรือขั้นสูง หมายถึง มีความสามารถคิดเชิงระบบคือยึดประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน มีความรับผิดชอบ เคารพกฎระเบียบ กฎหมายใช้สันติวิธีการเจรจาแก้ปัญหาความขัดแย้ง ปฏิบัติตามหลักศาสนา มีความละอายเมื่อทำไม่ดีและภูมิใจเมื่อทำดี พัฒนาการด้านเหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นรูปธรรมหรือขั้นต่ำขั้นที่ 2-3 จะพัฒนาในช่วงอายุ 7-10 ปี สำหรับเหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นนามธรรมหรือขั้นสูงจะเริ่มพัฒนาเมื่ออายุ 11 ปี และจะสมบูรณ์เต็มที่เมื่ออายุ 16 ปี ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นและสำคัญของพลเมืองที่มีคุณภาพสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย จะเห็นได้ว่าผลกระทบการใช้วิธีสอนของภาษาไทยที่ขาดคุณภาพ ส่งผลให้พัฒนาด้านจริยธรรมเพียงขั้นต่ำ หรือขั้นรูปธรรมและหยุดชะงักสร้างพฤติกรรมปัญหาแกตนเองและสังคม คือ เห็นแก่ตัว ขาดความรับผิดชอบตนและสังคม ทุจริตต่อหน้าที่การงาน ( สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ 2520-2533 : ศ.ดร.จรรจา สุวรรณฑัต และคณะชุดวิจัยจริยธรรมของเยาวชนไทย สังเคราะห์จากผลวิจัย 4 เรื่อง พ.ศ.2535 หน้า 7-8 )

3.) ทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน เพื่อพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิต การประเมินระยะยาวข้างต้น ที่พบว่า มีนักเรียนกลุ่มปรับปรุงและกลุ่มพอใช้รวมกันมาแล้ว มากถึง 2 ใน 3 ของประชากรนักเรียน ป.4 พวกเขาย่อมมีทัศนคติทางลบต่อการอ่าน มีผลวิจัยที่เผยแพร่ทั่วไป วาคนไทยอ่านหนังสือปีละ 5-8 เล่ม ขณะที่เวียดนามและสิงคโปร์ อ่านหนังสือปีละ 50-60 เล่ม

4.) การใช้วิธีการสอนภาษาไทยที่ขาดคุณภาพส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียน ผลวิจัยพบว่า นักเรียนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน เบื่อครู เคยหนีเรียน อยากลาออกไปหางานทำ มีความเครียด เคยคิดฆ่าตัวตาย (สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2554 . สำรวจสถานการณ์ทางสังคมของเด็กเยาวชนกทม.) ส่วนการวิจัยของ สกศ เรื่องการออกกลางคัน  นักเรียนชั้น ป.1-ม.6 ปีการศึกษา 2541-2551 พบว่า การออกกลางคืนค่อนข้างสูงถึง 42.28% มีหลายสาเหตุ และผลการเรียนอ่อนก็เป็นสาเหตุหนึ่งด้วย (http:.www.moe.go.th)

2.ระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา
(เทคนิคการสอนแบบรับภาษาร่วมกับจริยธรรมและสันติวิธี)

จากสภาพปัญหาวิธีการสอนภาษาไทย ดังกล่าวในข้อที่ 1 คณะนักวิชาการศึกษา สพฐ. (สปช) จึงดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาเชิงระบบวิธีสอนภาษาไทยที่มีคุณภาพ ทั้งภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษาไทยเป็นภาษาที่สองตั้งแต่ระดับอนุบาลศึกษา – ประถมศึกษาตั้งแต่ พ.ศ.2530-ปัจจุบัน โดยมี ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ และ รศ.ดร.ประพาศน์ พฤทธิ์ประภา เป็นผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาวิจัย

ศาสตร์อันเป็นที่มาของระเบียบวิธีการสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา

ระเบียบวิธีการสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษายึดศาสตร์หรือหลักวิชา 7 สาขา คือ (1) ศาสตร์สาขาประสาทวิทยาศาสตร์ (2) ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา (3) ศาสตร์สาขาสัทธศาสตร์และภาษาศาสตร์ (4) ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์จิตวิทยาปริชาน (5) ทฤษฎีการรับภาษาที่สอง (6) ทฤษฎีจิตวิทยาสาขามนุษย์นิยม และ(7) ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์สังคมวิทยา ซึ่งมีคำอธิบายโดยย่อ ดังนี้

1.) ศาสตร์สาขาประสาทวิทยาศาสตร์ (Neurosciences) ให้ความรู้ว่าระบบประสาทและสมองเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย แต่ทำหน้าที่พิเศษต่างจากวัยอื่น คือทำหน้าที่ส่งเสริมและควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของอวัยวะทุกระบบทุกส่วนของร่างกาย สมองทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ควบคุมจิตใจ – ความรู้สึกและพฤติกรรมตลอดชีวิต และประการสำคัญที่สุดคือระบบประสาทและสมองทำหน้าที่เรื่องการรับรู้ การคิดหลายลักษณะหลายมิติ การเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์และการสร้างภาษาทั้งแม่ภาษาแม่ภาษาที่สองและภาษาต่อๆไปที่มนุษย์เรียน การเก็บบันทึกสะสมความเข้าใจในรูปของภาษาที่สมองซีกซ้ายส่วนล่างบริเวณ Wernicke’s area และสมอง Broeas ‘areaจะทำหน้าที่นำภาษาออกไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ทุกสาขา และด้านวิชาการ ดังนี้การออกแบบวิธีสอนภาษา รวมทั้งกลุ่มสาระต่างๆ จึงต้องสอดคล้องกับหน้าที่และกลไกการรู้คิดการเรียนรู้ การสร้างมโนทัศน์และการสร้างภาษาของสมอง จึงจะทำให้การเรียนรู้ราบรื่น มีทัศนคติที่ดี มีอุปสรรคไม่มากนัก ภาษาที่ใช้อยู่ที่ปาก ดังที่ระบบการศึกษาไทยเข้าใจ

2.) ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา (Neuroliguistics) ให้ความรู้ว่าสมองซีกซ้ายทำหน้าที่รู้คิด เรียนรู้ สร้างมโนทัศน์สร้างภาษา ส่วนสมองซีกขวาทำหน้าที่กระบวนการสังเคราะห์ผลรวมของภาษา สมองที่ทำหน้าที่บันทึกสะสมความเข้าใจของภาษาคือสมอง Wernicke’s area สมองที่ทำหน้าที่เรียกภาษาคืน (Retrieve) และส่งภาษาออกไปสื่อสาร คือสมอง Brocaดังนั้นวิธีสอนภาษาขั้นพูด-ฟัง จะต้องสอดคล้องกับการทำหน้าที่ของสมอง กระบวนการดังกล่าว Vygotsky สรุปให้เห็นชัดเจนว่า “Language is added by speech not the reverse” หมายถึงความคิดแสดงออกทางภาษาแต่ไม่เป็นปฏิภาคกัน ดังนั้นวิธีสอนที่มิได้กระตุ้นให้สมองคิดและสร้างภาษาเพราะมีความเชื่อผิดๆ ว่าภาษาอยู่ที่ปากไม่สามารถทำให้นักเรียนคิดเป็น

3.) ศาสตร์สาขาลัทธศาสตร์และภาษาศาสตร์ (Phonetics and Linguistics) ให้ความรู้ว่าโครงสร้างภาษามี 5 ระบบ คือ ระบบเสียง หน่วยคำวากยสัมพันธ์ อรรถศาสตร์และวัจนปฏิบัติศาสตร์ สำหรับวิธีการสอนต้องสอนให้ครบ 3 ระบบแรกจึงจะทำให้นักเรียนพูดได้ โดยเฉพาะวิธีสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองจะสอนเพียง 2 ระบบ แรก คือระบบเสียงกับหน่วยคำ นักเรียนจะสื่อสารไม่ได้ ดังที่เป็นปัญหาตั้งแต่ในอดีต-ปัจจุบัน 

4.) ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์จิตวิทยาปริชาน  (Cognitive Psycolinguistics ) ให้ความรู้ว่าพัฒนาการของนักเรียน 4 ด้านคือ ด้านจิตใจ-ความรู้สึก ด้านสติปัญญา ด้านสังคมและด้านร่างกายของนักเรียนทุกช่วงอายุจะเป็นหลักในการออกแบบกิจกรรมสอนภาษาเช่นนักเรียนวัยเด็กกับวัยรุ่นย่อมจัดกิจกรรมแตกต่างกัน

5.) ทฤษฏีการสอนภาษาที่สอง(Theory of Second Language Acquisition) ให้ความรู้ว่าภาษาแม่ ภาษาที่สองภาษาต่อๆไปมีกระบวนการสร้าง เก็บบันทึกสะสมและนำออกไปใช้สื่อสารเป็นหน้าที่ของสมองบริเวณเดียวกัน ความแตกต่างของการสอนภาษาแม่กับภาษาที่สองอยู่ที่เวลา(Time) สอน แต่ละระยะจะต้องเพียงพอที่จะให้สมองรับเรียนรู้และสร้างภาษาที่สองและกิจกรรมจะต้องมีคุณภาพมีหลายกิจกรรมต่อกัน (scaffold)เป็นกระบวนเพื่อช่วยให้สมองเรียนรู้ราบรื่นและครูต้องสื่อสารภาษาที่สอง

6.) ทฤษฏีจิตวิทยาสาขามนุษย์นิยม ให้ความรู้ว่าความต้องการ 5 ขั้นที่ขาดไม่ได้ เมื่อได้รับการตอบสนองจะทำให้นักเรียนเข้าสู่คุณธรรมจริยธรรมด้วยตน โดยเฉพาะความต้องการที่ขาดไม่ได้ขั้นที่3-4 คือความต้องการความรัก ความภูมิใจในความมีค่าของตน เมื่อครู-พ่อแม่เติมเต็มจะทำให้เขารัก เคารพครู เพราะเด็กๆเรียนได้จากคนที่ตนรักเท่านั้นความรักทำให้อยากทำตามคำสั่งสอนอบรมและตั้งใจเรียน ดังนั้นครูผู้สอนภาษาจึงตอบสนองความต้องการความรักด้วยการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวกที่มีประสิทธิผล คือรับฟัง ตอบรับการฟัง เสริมแนวให้กำลังใจประการสำคัญคำพูดทางลบ ใช้อำนาจความรุนแรงทำให้สมองนักเรียนปิดรับการเรียนรู้ทั้งมวล ใช้สอนวิธีสอนอะไรก็ไม่ได้ผล สำหรับองค์ความรู้เรื่องสันติวิธี เนื่องจากขณะสอนความขัดแย้ง ปัญหาระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียนเกิดขึ้นตลอดเวลาและไม่อาจคาดเดาได้ ดังนั้นครูจึงต้องบริหารจัดการความขัดแย้งและปัญหาด้วยสันติวิธี คือการเจรจาร่วมกันคิดหาทางออก ที่ทุกคนจะได้สิ่งที่ต้องการแต่ไม่ใช่ 100% ความต้องการบางอย่างอาจถูกปฏิเสธ หรือขัดแย้งกันต่อไปแล้วไม่ได้อะไรเลย มีแต่ความสูญเสีย สำหรับความขัดแย้งระหว่างนักเรียนให้ครูเปลี่ยนบทบาทเป็นคนกลาง ให้นักเรียนคู่กรณีคิดหาทางออก ครูไม่ทำตนเป็นอัยการหรือผู้พิพากษาลงโทษนักเรียนแบบเดิมที่เคยชิน การจัดการปัญหาด้านสันติวิธีจะทำให้เด็กๆเรียนรู้ว่าความยุติธรรมมีจริง ผู้ใหญ่พึ่งได้ ส่วนใครที่ทำไม่ดีจะมีผลตามมา และ

7.) ศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์สังคมวิทยา (Sociolinguistics) ให้ความรู้ว่าภาษามิใช่สถิตอยู่ในสมองตลอดไป ภาษาจะถูกนำออกไปใช้ในสังคม ออกไปใช้สื่อสาร ประกอบอาชีพทุกสาขา ด้านวิชาการและฐานะทางสังคม มิใช่เก็บไว้ในสมองเฉยๆ ภาษาจึงได้ชื่อว่าเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร การได้สนทนาแลกเปลี่ยนทำให้ได้ทั้งความคิดใหม่ๆและได้เรียนรู้ภาษาใหม่ๆควบคู่กัน ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาจึงต้องให้นักเรียนได้คิดแบบเดียว แบบคู่และแบบกลุ่มกระตุ้นให้ระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดและนำเสนอจะช่วยพัฒนาภาษาอย่างมาก

จากศาสตร์ 7 สาขาดังกล่าวจึงออกแบบระเบียบวิธีสอนภาษาตามหลักวิชาภาษาศาสตร์การศึกษาอัตราส่วน 80:10:10 หมายถึงจัดกระบวนการสอนกระตุ้นให้สมองคิดสร้างภาษาประมาณ 80% ของเวลาทำการสอน 1 ชั่วโมง ครูสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวก 10% และบริหารจัดการความขัดแย้งและปัญหาประมาณ 10%
-----------------------------------

อ้างอิง